วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุบัติเหตุครั้งนี้... ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ !

Thailand only ! อุบัติเหตุครั้งนี้... ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ !
หนังสือพิมพ์: ASTV ผู้จัดการออนไลน์    
11 ตุลาคม 2555 14:12 น.
       เป็นที่ทราบกันว่า...ในต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษา สิทธิของตนเองอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการฟ้องคดีกันบ่อยจนถือเป็นเรื่องปกติ... ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราอย่างสิ้นเชิง ที่หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่ยอมขึ้นโรงขึ้นศาลอย่างเด็ดขาด เพราะถือคติที่ว่า “กินขี้หมาดีกว่าค้าความ”
      
       แต่ปัจจุบัน...คนไทยได้หันมาให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษาสิทธิของ ตนเองมากขึ้น รวมทั้งภาครัฐก็ได้พยายามให้ความรู้และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ดังเช่น การฟ้องคดีปกครองที่เน้นความเรียบง่ายและไม่จำเป็นต้องมีทนายความ ส่งผลให้การฟ้องคดีในบ้านเรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
      
       การฟ้องคดีในต่างประเทศบางคดีนั้น ในบ้านเราอาจถือเป็นเรื่องแปลก แต่ก็เป็นเรื่องแปลกแต่จริงครับ ! เพราะเรื่องที่เรามองว่าเล็กน้อยนั้น เขาฟ้องเรียกค่าเสียหายกันเป็นหลักล้าน แถมชนะคดีอีกต่างหาก คดีแปลกที่ว่านี้ก็เช่น คดีที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีลูกค้าซื้อกาแฟจากร้านแมคโดนัลด์ แล้วทำกาแฟที่ยังร้อนอยู่หกใส่ตัวเอง จึงฟ้องร้องร้านแมคโดนัลด์ ในข้อหา ...ไม่เขียนคำเตือนไว้ที่ถ้วยกาแฟ…ซึ่ง เธอก็เป็นฝ่ายชนะคดีและได้รับชดใช้ค่าเสียหาย หรือคดีที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน กรณีที่ลูกค้าซึ่งไปซื้อของในห้างสรรพสินค้าแล้วเหยียบเปลือกกล้วยที่ลูกค้า อีกรายหนึ่งทิ้งลงพื้นโดยที่พนักงานของห้างฯ เห็นแล้วแต่ไม่เก็บ เป็นเหตุให้ลูกค้าคนดังกล่าวลื่นล้มได้รับบาดเจ็บที่ขา จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของห้าง และชนะคดีเช่นกัน…
      
       สำหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีปกครองในวันนี้ ผมมีเรื่องน่าสนใจทั้งจากต่างแดนและบ้านเรามาฝาก ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าคดีนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะศาลอิตาลีท่านบอกว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ซึ่ง “เรื่องบังเอิญ” ที่ว่านี้จะมีผลอย่างไรต่อการตัดสินคดี มาดูกัน...
      
       เรื่องก็คือ... นางเอมมี่ซึ่งได้ขับรถยนต์ส่วนตัวด้วยความเร็วปกติไปตามถนนในเมืองอากรีเจน โต้ ประเทศอิตาลี แต่พอขับไปถึงจุดที่เป็นทางโค้ง รถก็เกิดเสียหลักไถลไปชนกับกำแพงริมถนน เนื่องจากมีคราบน้ำมันที่ไหลจากรถคันอื่นอยู่บนถนนดังกล่าว เธอจึงรีบไปฟ้องคดีต่อศาลแพ่งเมืองอากรีเจนโต้เพื่อขอให้บริษัทเอ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบำรุงรักษาถนนและเทศบาลเมืองอากรีเจนโต้ซึ่งเป็น ผู้ควบคุมกำกับบริษัทเอ ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เธอ อันเนื่องมาจากการละเลยไม่บำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความดูแลให้อยู่ใน สภาพที่ไม่ก่ออันตรายแก่ผู้อื่น
      
       คดีนี้ศาลได้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งได้บัญญัติยกเว้นมิให้บุคคลต้องรับผิดชอบในความ เสียหายอันเกิดจากสิ่งของที่อยู่ในความดูแลของตน หากความเสียหายนั้นเกิดจาก “เหตุบังเอิญ” โดยศาลได้ให้คำนิยามของคำว่า “เหตุบังเอิญ” ว่าหมายถึง เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ หรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย อันอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของผู้ดูแล รวมทั้งเป็นเหตุการณ์ซึ่งโดยลำพังย่อมก่อความเสียหายได้เองหรืออาจเรียกได้ ว่าเป็นอุบัติเหตุโดยแท้ นอกจากนี้ศาลยังเห็นว่านอกจากการมีคราบน้ำมันรถบนถนนกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยในเรื่องของ “ช่วงเวลาประจวบเหมาะ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากจนฝ่ายปกครองไม่มีเวลาแม้แต่จะเข้าไปบำรุงดูแล ทรัพย์สินได้ทันการณ์อีกด้วย
      
       นางเอมมี่ไม่ยอมแพ้และได้ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา แต่ผลของคดีก็ยังคงเหมือนเดิม และศาลฎีกายังได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจในคำพิพากษาอีกว่า หากความเสียหายเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากตัวทรัพย์สินของรัฐหรือจาก สาเหตุที่ไม่อาจแยกออกจากตัวทรัพย์สินของรัฐ เช่น ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องในการก่อสร้างหรือในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์สินของ รัฐนั้น แต่เกิดจากปัจจัยภายนอกและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยบุคคล ที่สาม เช่น การที่มีบุคคลอื่นทำสิ่งของตกหล่นหรือทิ้งสิ่งของอันตรายบนถนนของหลวง เช่นนี้ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจจะรับรู้หรือขจัดอันตรายนั้นได้ทัน แม้จะใช้ความระมัดระวังสูงสุดในการบำรุงรักษาทรัพย์นั้นแล้วก็ตาม ฝ่ายปกครองไม่จำต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแลทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุในลักษณะ ดังกล่าว
      
       คดีนี้ถือว่าศาลอิตาลีได้วางหลักในเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุ บังเอิญไว้อย่างชัดเจนว่าฝ่ายปกครองไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ครับ...
      
       คราวนี้มาดูคดีปกครองในบ้านเรากันบ้าง...ซึ่งเป็นเรื่องอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นบนท้องถนนเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ อุบัติเหตุครั้งนี้...ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ !
      
       คดีนี้ เทศบาลต้นอ้อได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทกอไผ่ ให้ดำเนินการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าและสาธารณูปโภคใต้ดิน รวมทั้งปรับปรุงผิวจราจรและพื้นที่ทางเท้า ตลอดจนไฟฟ้าแสงสว่างภายในเขตเทศบาล อันเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาล
      
       ต่อมาในเที่ยงวันหนึ่ง... นางเอมอรซึ่งได้ขับรถยนต์กระบะมาตามถนน พอขับมาถึงทางแยกที่จะเลี้ยวเข้าสู่ถนนอีกสายหนึ่ง ปรากฏว่ามีตอม่อเสาไฟฟ้าซึ่งทำด้วยปูนซีเมนต์สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตั้งอยู่ในพื้นผิวจราจร นางเอมอรไม่ทันเห็นเนื่องจากไม่มีป้ายเตือนใดๆ จึงได้เลี้ยวรถยนต์ครูดไปกับตอม่อเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้รถยนต์ของนางเอมอรได้รับความเสียหาย โดยชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นได้บอกกับนางเอมอรว่า...มีรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว...
      
       นางเอมอรเห็นว่าเทศบาลต้นอ้อซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิด ชอบการก่อสร้างเสาไฟฟ้าดังกล่าว ได้ประมาทเลินเล่อไม่ดำเนินการติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนใดๆ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่ามีตอม่อกีดขวางรุกล้ำเข้ามาในพื้นผิวจราจร จึงมีหนังสือขอให้เทศบาลชดใช้ค่าเสียหาย เทศบาลต้นอ้อจึงได้มีหนังสือให้บริษัทกอไผ่จ่ายเงินค่าเสียหายให้แก่นาง เอมอร ตามข้อ 10 ของสัญญาที่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุความเสียหายหรือ ภยันตรายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง แต่ก็มิได้มีการชดใช้แต่อย่างใด โดยนางเอมอรได้มีหนังสือทวงถามแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล จึงได้ยื่นฟ้องเทศบาลต้นอ้อต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ชดใช้ค่าซ่อมรถแก่ตนพร้อม ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
      
       กรณีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยคดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การที่เทศบาลต้นอ้อ
       ไม่ดำเนินการติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาณใดๆ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่ามีตอม่ออยู่ในพื้นผิวจราจร จนเป็นเหตุให้รถยนต์ของนางเอมอรเฉี่ยวชนตอม่อได้รับความเสียหายเป็นการกระทำ ละเมิดต่อนางเอมอรหรือไม่ ?
      
       โดยที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติถึงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิได้บัญญัติถึงลักษณะของการกระทำของเจ้าหน้าที่ไว้ว่าการกระทำของเจ้า หน้าที่ในลักษณะใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิด ดังนั้นการพิจารณาว่าการกระทำใดจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
      
       เมื่อเทศบาลต้นอ้อซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลรับผิดชอบการก่อ สร้างเสาไฟฟ้าและป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากการดำเนินการดังกล่าว ได้ละเลยต่อหน้าที่ไม่ทำเครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนให้ประชาชนที่ขับรถไปใน เส้นทางดังกล่าวทราบว่ามีตอม่อเสาไฟฟ้าอยู่ในพื้นผิวจราจร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ดังนั้นการที่นางเอมอรขับรถเฉี่ยวชนตอม่อจนรถยนต์ได้รับความเสียหาย จึงถือว่าเทศบาลต้นอ้อได้ประมาทเลินเล่อทำให้นางเอมอรได้รับความเสียหายแก่ ทรัพย์สิน อันเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 และต้องรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถให้แก่นางเอมอรพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย (เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.197/2552)
      
       จะเห็นได้ว่า... อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นกรณีที่เทศบาลสามารถป้องกันได้เพราะไม่ใช่เหตุ บังเอิญ และแม้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวจะเกิดจากการดำเนินงานของบริษัทกอไผ่ก็ตาม แต่เมื่อเทศบาลต้นอ้อเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการรวมทั้งควบคุมดูแลการ ทำงานของบริษัทกอไผ่ เทศบาลต้นอ้อจึงต้องเป็นผู้รับผิดแห่งการละเมิดที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก สำหรับในส่วนที่เทศบาลจะใช้สิทธิเรียกร้องกับบริษัทกอไผ่ ตามข้อ 10 ของสัญญานั้น เป็นเรื่องระหว่างเทศบาลกับบริษัทกอไผ่ที่ต้องว่ากันต่อไปครับ...
      
       ช่วงนี้ฝนตกบ่อยและมีน้ำท่วมขัง...ไปไหนมาไหน... โปรดใช้ความระมัดระวัง มิเช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งจากเหตุบังเอิญและไม่บังเอิญนะครับ เพราะ Thailand only ! เมืองที่ฝาท่อหายและพบถุงทรายในท่อระบายน้ำ !!! ด้วยความห่วงใย...
      
       ครองธรรม ธรรมรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



            การคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                                                นางสาวนิตา บุณยรัตน์ พนักงานคดีปกครองชำนาญการ
                                                กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
                                                สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

                   เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยเงื่อนไขของความชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้เสมอตามมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เว้นแต่ในกรณีที่เป็น การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ การเพิกถอน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตรามีลักษณะเป็นการจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองในการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นหลักประกันคุ้มครองความเชื่อและความไว้วางใจของผู้รับคำสั่ง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ได้หรือไม่ ประการสำคัญคือจะต้องคำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับคำสั่งในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าความเชื่อโดยสุจริตของ ผู้รับคำสั่งในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองมีมากกว่าประโยชน์สาธารณะแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้
 
                   คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องของข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ภายหลังมีการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายโดยปรับลดอัตราค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หน่วยงานต้นสังกัดจึงมีคำสั่งเรียกเงินคืน ข้าราชการผู้ใช้สิทธิเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยข้อเท็จจริงมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์) มีคำสั่งปิดสำนักงาน ในต่างประเทศที่ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ผู้ฟ้องคดีจึงเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๑ และขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยในอัตราสามเท่าของจำนวน เงินเพิ่มพิเศษตามมาตรา ๗๐ (๔) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อนุมัติตามที่ขอ ต่อมา มาตรา ๗๐ (๔) ถูกยกเลิกโดยมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ โดยแก้ไขอัตราเบิกค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นที่อยู่เป็นอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษและให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๑ เป็นต้นไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหนังสือให้ผู้ฟ้องคดีนำเงินที่เบิกเกินสิทธิมาชำระคืนแก่ทางราชการ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง แต่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินแก่ทางราชการ
คำสั่งอนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ฟ้องคดีจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้หรือไม่ ?
 
                 ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยกรณีดังกล่าวว่า การที่มาตรา ๗๐ (๔) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่าย การเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยบัญญัติให้ข้าราชการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยได้ในอัตราที่ลดลงเหลือเพียงหนึ่งเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษ และให้พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับย้อนหลัง ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคeพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.๘/๒๕๔๗ ว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดี เบิกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยในอัตราสามเท่าของเงินเพิ่มพิเศษ จึงเป็นคำสั่ง ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่เกินอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษ และถือว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้จากคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อคำสั่งทางปกครองได้เกิดขึ้นแล้วจะมีผลในทางกฎหมายไปจนกว่าจะมีการกระทำ ทางปกครองอื่นมาลบล้าง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยมาตรา ๓ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมบางส่วนได้ การเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจึงต้องคำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้ฟ้องคดีในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน เมื่อขณะที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำขอเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยและได้รับคำสั่งอนุมัติ ผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องในสาระสำคัญ หรือได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในขณะได้รับคำสั่ง หรือการไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ อีกทั้ง ความเชื่อโดยสุจริตของผู้ฟ้องคดีได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ใช้เงินอันเกิดจากคำสั่งอนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหมดแล้ว ประกอบกับการเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่อนุมัติให้เบิกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทยในอัตราสามเท่าของจำนวนเงินเพิ่มพิเศษบางส่วน มิได้เป็นประโยชน์กับสาธารณะแต่อย่างใด ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินส่วนที่อ้างว่าเบิกเกินสิทธิให้แก่ทางราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๘/๒๕๕๔)
 
                 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดข้างต้น เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการอธิบายหลักกฎหมายสำคัญ คือ หลักความคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจ (The principle of the protection of legitimate expectation) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่มีเหตุผลในการคุ้มครองสถานะในกฎหมายของปัจเจกบุคคลจากการถูกล่วงละเมิดโดยอำนาจรัฐ โดยรัฐต้องไม่ใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ เช่น การตรากฎหมายให้มีผลย้อนหลังหรือการใช้อำนาจออกคำสั่งทางปกครอง ล่วงละเมิดประโยชน์ ของปัจเจกบุคคลที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเชื่อถือและความไว้วางใจต่อกฎหมาย กฎเกณฑ์ คำสั่ง ทางปกครองหรือการใช้อำนาจต่างๆ ของรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม หลักนี้ได้รับการยกเว้นให้รัฐสามารถใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวได้หากประโยชน์สาธารณะที่ได้รับจากการใช้อำนาจนั้นมีอยู่เหนือกว่าประโยชน์ ของปัจเจกบุคคลที่ต้องเสียหายจากการใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรของรัฐสามารถเพิกถอนกฎเกณฑ์หรือ ออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังหรือเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นได้ ดังเช่น คดีนี้ซึ่งผู้ฟ้องคดีเชื่อโดยสุจริตในขณะที่ได้รับคำสั่งทางปกครองที่อนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางในอัตราสามเท่าของจานวนเงินเพิ่มพิเศษว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากคำสั่งทางปกครองดังกล่าวได้ ประกอบกับการใช้อำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็มิได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแต่อย่างใด ดังนั้น รัฐจึงมีหน้าที่จะต้องคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจของผู้รับคำสั่งดังกล่าว

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญา ... แต่ขอค่าเสียหายเพราะตรวจงานช้า



ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญา ... แต่ขอค่าเสียหายเพราะตรวจงานช้า

จัดทาโดย นางสาววชิราภรณ์ คงกัลป์ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

ในการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างของส่วนราชการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วันทำการ และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด เมื่อคณะกรรมการตรวจการจ้างเห็นว่า งานจ้างถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้ถือว่าผู้รับจ้าง ส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น แต่ถ้าเห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดงวดหนึ่ง ไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทราบหรือสั่งการ ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้า ส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงจะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ตามข้อ ๗๒ () () และ () ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.. ๒๕๓๕
กรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ตรวจรับงานจ้างเพราะเห็นว่าผู้รับจ้างมิได้ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้าง และมิได้มีการดำเนินการ เพื่อขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อน แต่ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ แต่ภายหลังจากผู้รับจ้างส่งมอบงานและได้พิจารณาเทียบเท่าคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้วจึงได้ตรวจรับงานจ้าง กรณีดังกล่าวจะถือว่าคณะกรรมการตรวจรับงานล่าช้า อันเป็นเหตุให้ต้องรับผิดต่อผู้รับจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๕๕/๒๕๕๔ วินิจฉัยกรณีดังกล่าวไว้โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมการแพทย์) ได้ทำสัญญาว่าจ้างผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคาร ซึ่งกำหนดให้ผู้ฟ้องคดีต้องติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างให้แล้วเสร็จในการก่อสร้างงวดที่ ๑๓ และงวดที่ ๑๔ ตามลาดับ โดยเอกสารแนบท้ายสัญญา ข้อ ๕๕ กำหนดให้ผู้ฟ้องคดีใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ไม่ถึง ๓ ราย จึงระบุให้ผู้ฟ้องคดีใช้ผลิตภัณฑ์ของ ๑๑ บริษัทที่กำหนดไว้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท ม. ซึ่งมิใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ และได้ส่งมอบงานโดยคณะกรรมการตรวจการจ้างจานวน ๘ คน เห็นควรตรวจรับงาน แต่อีก ๔ คน ไม่ตรวจรับงาน เนื่องจากไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ ๑๑ บริษัท ที่กำหนด แต่ภายหลังจากที่มีการตรวจสอบคุณภาพวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของผู้ฟ้องคดีว่ามีคุณภาพเทียบเท่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญา กรรมการตรวจการจ้าง ๔ คน จึงตรวจรับงาน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคณะกรรมการตรวจการจ้าง ๔ คน ที่ไม่ตรวจรับงานใช้ดุลพินิจบิดเบือนข้อเท็จจริง ประวิงเวลาตรวจรับงานทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคาพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๒๖๖,๙๓๔ บาท   

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะทำการก่อสร้างงานงวดที่ ๑๓ และ งวดที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือขอใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท ม. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ ๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ขอใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการพิสูจน์ให้เป็นที่เชื่อถือก่อน ส่วนราชการจึงจะยอมรับว่าเป็นสิ่งของเทียบเท่าได้ ต่อมา คณะกรรมการตรวจการจ้างได้มีหนังสือหารือไปยังกองแบบแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มงานวินัยและนิติการของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเห็นว่าผู้ฟ้องคดีใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท ม. ในการติดตั้งได้ แต่ในระหว่างที่การเสนอขอใช้วงกบกรอบ บานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมยังไม่ได้ข้อยุติ ผู้ฟ้องคดีได้เข้าติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ม. จนแล้วเสร็จ และได้ส่งมอบงานงวดที่ ๑๓ ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ และงวดที่ ๑๔ ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างมีความเห็นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ ๑ กรรมการจานวน ๘ คน เห็นควรตรวจรับงาน ส่วนฝ่ายที่ ๒ กรรมการอีกจานวน ๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงาน และได้ทำบันทึกความเห็นแย้งโดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นมาพิจารณาเทียบเท่าคุณภาพวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของผู้ฟ้องคดีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ และหลังจากคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่า วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างของผู้ฟ้องคดีมีคุณภาพเทียบเท่าตามข้อ ๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา กรรมการตรวจการจ้างจำนวน ๔ คน ที่ไม่ยอมตรวจรับงานในครั้งแรกจึงได้ตรวจรับงานงวดที่ ๑๓ และงวดที่ ๑๔ ในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒
การตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจการจ้างที่เกิดความล่าช้าจึงมีสาเหตุ ๒ ประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การเสนอขอใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท ม. ไม่เป็น ไปตามข้อ ๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา และประการที่สอง ผู้ฟ้องคดีลงมือติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจการจ้าง และยังมิได้มีการดำเนินการพิสูจน์คุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ของเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้กรรมการตรวจการจ้างจานวน ๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงานและได้ทาบันทึกความเห็นแย้งไว้เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพเทียบเท่าตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ดังนั้น การที่กรรมการตรวจการจ้างจำนวน ๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงานและได้ทาบันทึกความเห็นแย้งไว้ จึงเป็นการดาเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๒ () ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.. ๒๕๓๕ และไม่อาจรับฟังได้ว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานล่าช้าเกินสมควร และความเห็นของกองแบบแผน และกลุ่มงานวินัยและนิติการก็เป็นเพียงการตอบข้อหารือจึงไม่มีผลผูกพันคณะกรรมการตรวจการจ้าง และไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ นอกจากนี้ แม้ว่าวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท ม. จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่เมื่อเอกสารแนบท้ายสัญญาระบุให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ๑๑ บริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามหรือดำเนินการขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนการติดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี ผู้ฟ้องคดีจึงอ้างไม่ได้ว่าปฏิบัติถูกต้องตามสัญญา

ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี

            จากคำพิพากษาดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักการสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.. ๒๕๓๕ ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีอำนาจที่จะไม่ตรวจรับงานจ้างหากเห็นว่าผู้รับจ้างไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญา ถึงแม้ว่าผู้รับจ้างจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้วหรือเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานได้ให้ความเห็นว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แล้ว ก็ไม่มีผลผูกพันให้คณะกรรมการต้องยอมรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาและความเห็นดังกล่าวก็เป็นเพียงการตอบข้อหารือไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ซึ่งผู้รับจ้างที่ขอใช้ผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาจะต้องเสนอขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ส่วนราชการแต่งตั้งขึ้นจากผู้ชำนาญการหรือผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นที่สุดในเรื่องนั้น หากคณะกรรมการยอมรับสิ่งของนั้นก็ให้ ส่วนราชการยอมรับว่าเป็นสิ่งของที่เทียบเท่าได้
(