วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ต้นแบบ 1 อำเภอ 1 บ้านพักคนชรา

สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าฯ สุพรรณบุรี ต้นแบบ 1 อำเภอ 1 บ้านพักคนชรา
 สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1337 ประจำวันที่ 22-9-2012  ถึง 25-9-2012
 
สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร เพียบพร้อมด้วยศักยภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตรกรรม ดินดี น้ำอุดม ด้านการท่องเที่ยว งามพร้อมพุทธศิลป์ วัดวาอาราม และเชิงนิเวศ ธรรมชาติ แต่ในฉบับนี้ “สยามธุรกิจ” ขอนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีที่กำลังจะเปลี่ยนไปด้วยแนวคิดแปลกใหม่ในมุมมองของ สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี

> ยุทธศาสตร์การพัฒนา ของจังหวัดสุพรรณบุรี

ยุทธศาสตร์ของจังหวัดได้ยึดหลัก 3 ด้านคือ เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา ซึ่งเป็นแนวทางที่สืบเนื่องมาจากการทำงานของฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี โดยในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ขณะนี้ที่ได้รับความสนใจมากก็คือ เรื่องของเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จึงได้ทำการบูรณาและสำรวจจนค้นพบคูเมือง และพบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ จึงได้เข้าไปจัดสรรพื้นที่ใหม่ สุพรรณบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่น่าสนใจอีกมากมาย ดังนั้นขณะนี้กำลังส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติให้รู้จักกับสุพรรณบุรีมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้ทำสัญญาความร่วมมือเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับ มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ในด้านการส่งเสริมให้คนจีนรู้จักจังหวัดสุพรรณบุรีมากยิ่งขึ้นด้วย

> บ้านพี่เมืองน้องกับมณฑลเสฉวน

ที่ผ่านมาก็มีคณะผู้แทนรัฐบาลของมณฑลเสฉวนเข้ามาดูงาน โดยคณะดูงานได้ให้ความสนใจ ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่นเรื่องของการเลี้ยงกุ้งก้าม กราม และการปลูกข้าว ในส่วนของทางจังหวัดเอง เราก็มีแนวความคิดว่าจีนเป็นประเทศที่ผู้คนมีศักยภาพ ในการใช้จ่ายสูง และจะทำอย่างไรที่จะดึงเอาศักยภาพนั้นมาใช้กับจังหวัดสุพรรณบุรี ผนวกกับแนว คิดที่ว่าธุรกิจของภาพยนตร์ไทย หนังไทยบางเรื่องทำรายได้มหาศาลในประเทศจีน จึงถือเอาโอกาสดังกล่าว ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังจะดำเนินการตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวขึ้นที่เมืองเฉิงตู โดยนำนักแสดงจากภาพยนตร์ไทยที่ชาว จีนชื่นชอบไปร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ด้วย และจัดกิจกรรมคัดเลือกแฟนคลับชาวจีนมาท่องเที่ยวใน จ.สุพรรณบุรี ในรูปแบบเกมโชว์เรียลิตี้ทีซี กินนอนใช้ชีวิตกับนักแสดงดาราที่ชื่นชอบ โดยจะมีการออกอากาศถ่ายทอดรายการกลับไปยังประเทศจีน ถือเป็นการนำเสนอของดีของจ.สุพรรณบุรี ให้ชาวจีนได้รับรู้ ถือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกรูปแบบหนึ่ง

> บ้านพักคนชราเป็น 1 ในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว

วันนี้สุพรรณบุรีได้ประกาศให้เป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะว่ามีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีสูงถึง 10% จากจำนวนประชากรทั้งหมดประมาณ 800,000 คน คือสุพรรณบุรีมีผู้สูงอายุประมาณ 80,000 คน เรามองเรื่องนี้ว่าจะทำอย่างไรในการที่จะผนวกเอา เรื่องดังกล่าวให้เกี่ยวโยงกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว จึงได้แนวความคิดของการสร้างบ้านพักคนชราขึ้น อาจะให้เป็น 1 อำเภอ 1 บ้านพักคนชรา ขณะนี้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จแล้ว 2 แห่งด้วยกัน คือที่ อ.บางปลาม้า และ อ.สองพี่น้อง

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสถานที่ก่อสร้างเรา ได้เลือกเอาโรงเรียนในอำเภอที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ไม่มีการทำการเรียนการสอนหรือใช้ประโยชน์แล้วปรับ ปรุงให้เป็นที่พักอาศัยของคนชรา ถือเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเราได้มีการสำรวจโดยได้รับความร่วมมือจากทางเทศบาล และองค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) ของแต่ละพื้นที่ และได้รับการสนับสนุนที่ดีจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งบ้านพักแต่ละแห่งจะสามารถรองรับคนชราได้ประมาณ 30-40 คน

> ถือว่าเป็นแนวคิดที่แตกต่าง

ต้องถือว่าเราเป็นจังหวัดแรกที่ทำบ้านพักคน ชรา ในขณะที่จังหวัดอื่นยังไม่มีใครทำ แล้วบ้านพักคนชราเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไร คือเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ผู้สูงอายุชาวต่างชาติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มคนผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น หรือไต้หวัน ที่นั่นคนชราจะได้รับเงินบำนาญประมาณเดือนละ 30,000-40,000 บาท แต่เหมือนเป็นคนไร้บ้าน เพราะเงินบำนาญที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอกับการยังชีพภายในประเทศ ซึ่งถ้าเราสามารถชักจูงคนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในเมืองไทยก็จะได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการบ้านพักคนชรา โดยเราต้องสร้างตัวอย่างให้เขาเกิด ความคิดที่แตกต่างว่า สังคมคนชราที่จังหวัด สุพรรณบุรีมีระบบการดูแลที่ดี ทั้งด้านของแพทย์และพยาบาลที่คอยดูแล ทั้งเรื่องของสุขอนามัยที่ดี บรรยากาศดีเขาก็จะเกิดความเชื่อ อย่างที่ขอนแก่นเองมีกลุ่มผู้สูงอายุต่างชาติที่ได้รับบำนาญทำธุรกิจ แต่ที่สุพรรณบุรี จะมาอยู่ในบรรยากาศที่ใกล้ชิดธรรมชาติแบบวิถีชนบทจริงๆ นี่คือสิ่งที่ทางจังหวัดจะเสนอว่าเรา ต้องใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสและต้องพยายามเชื่อมโยงให้เขามีความเชื่อมั่น

> รูปแบบการดำเนินการ

เราทำในเชิงผสมผสานคือเป็นที่พักอาศัย ของผู้สูงอายุไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งจะมีให้เลือกทั้งที่เป็นเรือนนอนที่เราปรับปรุงจากอาคาร เรียนเดิม หรือจะเป็นการสร้างบ้านเป็นหลังเดี่ยว แยกอยู่ในส่วนพื้นที่ที่เราจัดสรรให้ โดยมี 2 แบบคือ แบบที่มีผู้บริจาคสร้างให้ทั้งหลัง และแบบสร้างเองแล้วมีสิทธิ์อยู่ ด้านค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุที่เข้ามาอยู่ตอนนี้ ก็ได้รับการบริจาคจาก ผู้มีจิตศรัทธาที่ต้องการช่วยเหลือ แต่เราก็อยาก ให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องเบี้ยประกันสังคมด้วย ขณะนี้มีผู้สูงอายุให้ความสนใจที่จะเข้ามาอยู่ที่บ้านพัก แต่ติดขัดปัญหาที่ว่าเมื่อมาอาศัยอยู่ที่บ้านพักคนชราแล้วจะไม่ได้รับเบี้ยประกันผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาท สำหรับคนยากจนถือว่าเงินจำนวนนี้มีความหมายมาก โดยถ้าสามารถ แก้ไขระบบดังกล่าวได้ เชื่อว่าจะมีผู้สูงอายุเข้ามาพักที่บ้านพักคนชราเพิ่มมากขึ้น

> ยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านอื่นๆ

ด้านการเกษตรได้เน้นมากที่สุดตอนนี้ ทำ ให้จังหวัดอื่นเอาเป็นแบบอย่างคือ โรงเรียนชาว นา มีมูลนิธิขวัญข้าว เรามีโรงเรียนชาวนามอบ หมายให้ทาง กศน.ของจังหวัดเป็นผู้เผยแพร่และ ให้ทางเกษตรจังหวัดเป็นผู้ดูแล พัฒนากรอำเภอ เกษตรอำเภอคอยให้ความรู้ เป็นการบูรณาการ ร่วมกัน เรามีสวนสวรรค์สุพรรณบุรีหรือศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์พืช เดิมเป็นโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน้าที่แจกพันธุ์ไม้เศรษฐกิจ ให้แก่ชาวบ้าน พืชจำพวกไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้น บางประเภทแพร่พันธุ์ขยายพันธุ์โดยการแยกเนื้อ เยื้อ แต่จากเดิมที่ผลิตพันธุ์ไม้แจกจ่ายให้กับราษฎรเพียงอย่างเดียว เราจึงเริ่มเสริมในเรื่องของพันธุ์ไม้ดอก โดยมีการจัดแสดงให้ประชาชน ที่สนใจเข้าชม จัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวในภาคกลางคืน

> การพัฒนาด้านการศึกษา

ด้านการศึกษาตามที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา เคยกล่าวไว้ว่า การศึกษาสร้างคน คนจะดีไม่ดีอยู่ที่พื้นฐานการศึกษา ทำให้เราพัฒนาด้านการศึกษามากขึ้น โดยสุพรรณบุรีมีสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้นมากมาย แทบจะเรียกได้ว่า 1 อำเภอ 1 มหาวิทยาลัย เพราะว่าจะมุ่งเน้นให้เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี คือไม่จำเป็นต้องเน้นว่าเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ดีเลิศ แต่ขอให้เขาได้มีโอกาสที่จะศึกษา ส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย โดยเรามีแนวความคิดที่ว่าให้โรงเรียนของรัฐร่วมกับเอกชน เป็นการปรับพื้นฐานเน้นหลักสูตรภาษา อังกฤษ เป็นสำคัญ

ทั้งหมดคือ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้การ นำของ สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด สุพรรณบุรี ที่มุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำให้ จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเลิศในทุกด้าน    

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก

ระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก : ดร.โสภณ พรโชคชัย

หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555, 11.24 น.
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เป็นหัวหน้าคณะข้าราชการและภาคเอกชนมาประชุมนานาชาติด้านการประเมินค่า อสังหาริมทร้พย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความกรุณาจากนายเกล็นน์ นิวแมน ประธานคณะทำงานด้านภาษีของมหานครนิวยอร์ก ให้เข้าพบและฟังคำบรรยายสรุปจากนายเกล็นน์ และคณะเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555  บทความนี้ จึงสรุปสาระเกี่ยวกับระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
          
นครนิวยอร์กมีประชากรถึงประชากรถึง 8.3 ล้านคน และตั้งอยู่บนที่ดินขนาดเพียง 784 ตารางกิโลเมตร หรือมีความหนาแน่นของประชากรถึง 10,587 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นของประชากรเพียง 3,800 คนต่อตารางกิโลเมตร  อสังหาริมทรัพย์ในนครแห่งนี้มีทั้งหมด 1,079,183 ชิ้น  เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เก็บภาษีเต็มจำนวนมี 42% อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยกเว้นภาษีบางส่วน 54% เช่นบ้านขนาดเล็กหรือบ้านของทหารผ่านศึก นอกนั้นอีก 4% ได้รับการยกเว้นภาษีถาวร เช่น โรงเรียน สถานทูต เป็นต้น

หมายเหตุ ตัวเลขรวมนี้กับการประมาณการโดยรวมในรายงานอาจแตกต่างกันเล็กน้อย
ที่มา: Annual Report, the New York City Property Tax FY 2012
www.nyc.gov/html/dof/html/pdf/12pdf/nyc_property_tax_fy12.pdf

ภาพรวมภาษีอสังหาริมทรัพย์
มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้ทั้งหมดเป็น 24.4 ล้านล้านบาท (โดยประมาณการหนึ่งเหรียญสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 30 บาท) แยกเป็นอสังหาริมทรัพย์ในเกาะแมนฮัตตัน 9.3 ล้านล้านบาท ในเขตบรองซ์ 1.5 ล้านล้านบาท เขตบรูกคลิน 5.8 ล้านล้านบาท เขตควีนส์ 6.1 ล้านล้านบาท และเกาะสแตเตท 1.8 ล้านล้านบาท  ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าอสังหาริมทรัพย์บนเกาะแมนฮัตตันเล็ก ๆ มีมูลค่าสูงมาก

หากแยกมูลค่าทรัพย์สินเป็นประเภททรัพย์สิน จะแยกได้เป็น ที่อยู่อาศัยที่ใช้เองและที่ดินเปล่ามีมูลค่า 11.8 ล้านบาท  ห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่า 5.7 ล้านล้านบาท  สาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบแก๊ส ระบบโทรคมนาคม ฯลฯ รวม 0.7 ล้านล้านบาท และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่นอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า 6.2 ล้านล้านบาท  จะสังเกตได้ว่าห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่านั้น มีราคาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายควบคุมค่าเช่า ทำให้รายได้ที่ได้ค่อนข้างจำกัด เมื่อประเมินโดยวิธีรายได้ตามการใช้สอยตามเงื่อนไขปัจจุบันที่ถูกควบคุมค่า เช่า จึงได้มูลค่าต่ำกว่าปกติ

ดังนั้นในกลุ่มที่อยู่อาศัยใช้เอง+ที่เปล่า มีอยู่ 702,564 แปลง รวม 1,088,054 หน่วย รวมมูลค่า 11.8 หรือหน่วยละ 10.9 ล้านบาท  แต่กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ให้เช่า มี 243,661 แปลงหรืออาคาร แต่มีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเป็นห้องชุดให้เช่าหรืออะพาร์ตเมนต์ 1,850,194 หน่วย และประเมินค่าไว้ต่ำเพียง 5.7 ล้านล้านบาท จึงมีมูลค่าต่อหน่วยเพียง 3.1 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะการควบคุมค่าเช่านั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่าอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์เก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ได้สูงสุด ถึง 40% ของภาษีทั้งหมด รองลงมากลับเป็นห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่าซึ่งจัดเก็บภาษีได้ถึง 38% ของภาษีอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด รองลงมาจึงเป็นที่อยู่อาศัยที่ใช้เองทั่วไป 15% และสาธารณูปโภคที่เก็บภาษีได้ 7% ของทั้งหมด  ที่เป็นเช่นนี้อาจแตกต่างจากนครหรือเขตอื่น ๆ ที่เก็บภาษีจากที่อยู่อาศัยเป็นหลัก  ทั้งนี้เพราะในนครนิวยอร์กมีอาคารสำนักงานเป็นจำนวนมาก  ประกอบกับที่อยู่อาศัยเพื่อการให้เช่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้จ่าย รัฐบาลจึง “รีด” ภาษีจาก “นายทุน” มากเป็นพิเศษ  ส่วนที่อยู่อาศัยที่เจ้าของใช้เองที่เก็บได้น้อยแม้มีอยู่เป็นจำนวนมากก็ เพราะส่วนหนึ่งเป็นการการเอาใจฐานเสียงจากประชาชนทั่วไปนั่นเอง

จะสังเกตได้ว่า สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ใช้เองจัดเก็บภาษีเพียง 0.75% ของมูลค่าตลาดที่อยู่อาศัยแต่ละหน่วย แต่หากคิดเป็นหลัง ๆ ก็จะเท่ากับจัดเก็บภาษีประมาณ 1.28% ของแต่ละหลัง  ในขณะที่ห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่า เก็บภาษีสูงถึง 3.85% ของมูลค่าตลาด  ส่วนสาธารณูปโภคเก็บ 5.45% ของมูลค่าที่คำนวณโดยวิธีต้นทุน  และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์จัดเก็บภาษีถึง 3.72% ของมูลค่า

การคำนวณภาษี
ในการคำนวณภาษีของที่อยู่อาศัยที่ใช้เอง เมื่อนครนิวยอร์กประเมินมูลค่าตลาดแล้ว ก็จะคิดราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีเป็น 6% ของมูลค่าตลาด จากนั้นก็เก็บภาษี 18% ของราคาประเมินเพื่อการเสียภาษี จึงทำให้อัตราภาษีเท่ากับ 1.28% ของมูลค่าตลาด ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเก็บภาษีนี้เป็นสัดส่วนประมาณ 1-3% ของมูลค่าตลาด
ส่วนการคำนวณภาษีของห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่านั้น เมื่อประมาณการมูลค่าตลาดแล้ว ก็คำนวณราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีเป็น 45% ของมูลค่าตลาด และเสียภาษี 15% ของราคาประเมินเพื่อการเสียภาษี หรือ ณ อัตราส่วนประมาณ 6.75% ของมูลค่าตลาด  ในกรณีนี้ผู้เสียภาษีถึงประมาณ 48.6% ท้วงให้นครนิวยอร์กทบทวนภาษีที่จัดเก็บให้น้อยลง ซึ่งในการทักท้วงผู้เสียภาษีต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 3,000-5,000 บาท และที่ผ่านมาโอกาสที่นครนิวยอร์กจะทบทวนมีประมาณ 20%
          
สำหรับการคำนวณภาษีของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์  เมื่อประมาณการมูลค่าตลาดแล้ว ก็คำนวณราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีเป็น 45% ของมูลค่าตลาด และเสียภาษี 10% ของราคาประเมินเพื่อการเสียภาษี หรือ ณ อัตราส่วนประมาณ 4.5% ของมูลค่าตลาด  ในกรณีนี้มีผู้ขอให้นครนิวยอร์กทบทวนราคาประเมินให้เช่นกันแต่น้อยกว่ากรณี ห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่า

รอบการจัดการภาษี
สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่า หรืออสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์อื่น เจ้าของจะต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อนครนิวยอร์กจะได้ประเมินมูลค่า ทรัพย์สินด้วยวิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า  ทั้งนี้เจ้าของอาคารต้องแจ้งภายในเดือนกันยายนของทุกปี
ภายในวันที่ 15 มกราคมของทุกปี นครนิวยอร์กจะส่งราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีและอัตราภาษีให้ผู้เสียภาษีได้ พิจารณา  และผู้เสียภาษีสามารถร้องขอให้นครนิวยอร์กทบทวนราคาได้ภายในกำหนด 3 เดือน  หลังจากนั้นนครนิวยอร์กจะประกาศใช้ราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีและอัตราภาษี ใหม่ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี
การจัดทำบัญชีราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีนี้ จัดทำทุกปี โดยในแต่ละปีจะปรับปรุงจากข้อมูลแปลงอสังหาริมทรัพย์ทุกหนึ่งในสามของทั้ง หมด เพราะทางราชการก็สำรวจทั้งหมดไม่ไหว  แต่มูลค่าของทุกแปลงจะปรับขึ้นทุกปี  อย่างไรก็ตามในการปรับเพิ่มนั้น จะปรับเพิ่มได้ ไม่เกิน 6% ในแต่ละปี และในเวลา 5 ปี จะปรับเพิ่มได้ไม่เกิน 25%  ในช่วงฟองสบู่ราคาอสังหาริมทรัพย์อาจเพิ่มมากกว่า 6%  และในช่วงตกต่ำราคาอสังหาริมทรัพย์ก็อาจจะตกมาก  แต่ราคาประเมินเพื่อการเสียภาษีก็ไม่ได้ปรับขึ้นลงตามนั้น จึงทำให้ภาษีที่เก็บได้ค่อนข้างคงที่ เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อปัญหาสภาพคล่องทางด้านการคลัง  และโดยที่ราคาประเมินเพื่อการเสียภาษี ประเมินไว้ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาด จึงไม่ค่อยมีผู้ร้องเรียนมากนัก ยกเว้นในกรณีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า

หัวใจของความสำเร็จ
ระบบการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์หรือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำเร็จได้ ด้วยดีก็เพราะการมีระบบฐานข้อมูลที่ดี โดยการบังคับให้ผู้ซื้อแจ้งการซื้อขายตามความเป็นจริง  การหลบเลี่ยงภาษีจะได้รับการลงโทษอย่างไม่มีข้อยกเว้น  แม้แต่คนดังในวงการต่าง ๆ ก็ติดคุก 3-6 เดือน หรือ 2-3 ปีบ้างตามแต่ระดับความผิดในการหลบเลี่ยงภาษี
ระบบฐานข้อมูลที่ดียังรวมถึงระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographical Information System) เพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน โดยระบบนี้สามารถใช้ร่วมกันได้กับหน่วยงานทุกแห่งในเทศบาลนครนิวยอร์กและ หน่วยงานระดับมลรัฐและระดับชาติเพื่อความคุ้มค่าในการดำเนินการ  แตกต่างจากในกรณีประเทศไทยที่หน่วยงานต่าง ๆ พยายามพัฒนาระบบ GIS ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช้เหตุ  แต่อาจเป็นการเปิดโอกาสให้มีการทุจริตได้ในแต่ละหน่วยงานจากการจัดซื้อ
นอกจากนี้ ในการรับข้อมูลการซื้อขายเช่าจากภาคเอกชน ยังมีระบบการสุ่มตรวจสอบ ทำให้โอกาสในการที่ข้อมูลออกมาผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงน้อยมาก เพราะข้อมูลที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ออกมาผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากจะได้รับการตรวจสอบและแก้ไขต่อไป
สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สินนั้น นครนิวยอร์กใช้การวิเคราะห์พหุคูณถดถอย (Multiple Regression Analysis) โดยอาศัยข้อมูลการซื้อขายในพื้นที่ใกล้เคียงของทรัพย์สินที่สามารถเทียบ เคียงได้ตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดของที่ดินและอาคาร ทำเลที่ตั้ง สาธารณูปโภค ฯลฯ เพื่อการสร้างแบบจำลองทางสถิติเพื่อการประเมินค่าทรัพย์สิน (Computer-assisted Mass Appraisal: CAMA)  โดยในกรณีประเทศไทย ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เป็นผู้พัฒนา CAMA และใช้ในโครงการจัดรูปที่ดินของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2533

ประเทศไทยก็สามารถพัฒนาระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพได้  โดยเริ่มต้นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริหารหน่วยงานราชการส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ที่ควรใช้การประเมินค่าทรัพย์สินด้วยวิธี CAMA ซึ่งเคยทดลองดำเนินการจนประสบความสำเร็จมาแล้วในปี พ.ศ.2549 ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลการประเมินในครั้งนั้น ปราบกฎว่าไม่มีการร้องเรียนว่าราคาที่ประเมินนั้นแต่อย่างใดต่างจากการ ประเมินโดยวิธีเดิม ๆ ของทางราชการ

มาร่วมกันศึกษาและพัฒนาระบบภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพัฒนาประเทศ

ผู้แถลง : ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับ ปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

ท้องถิ่นจัดการตนเอง

 คอลัมน์ ไทยมองไทย: ท้องถิ่นจัดการตนเอง (1) (ท้องถิ่นจัดการตนเอง) -
มติชนสุดสัปดาห์  Issued date 7 September 2012
          สมหมาย ปาริจฉัตต์
      
          เวทีเสวนา ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 7 ยังมาไม่ถึง สัปดาห์นี้เลยขอคั่นรายการ ว่าด้วยเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นกระแสที่น่าติดตามไม่น้อยเช่นกัน
          หลังจากล่าสุด ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมพูดถึงการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล และราชการส่วนกลาง รับฟังความเห็นของภาคประชาสังคมจังหวัดต่างๆ ที่ขอให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในรูปของจังหวัดจัดการตนเองหลายต่อหลายแห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น สงขลา ปัตตานี อำนาจเจริญ ยังคึกคักอยู่นะครับ
          โดยชี้ว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ในความคิดของนักปกครองฝ่ายความมั่นคงทั้งหลาย ไม่อยากให้เกิดขึ้นง่ายๆ เกรงจะเป็นไฟลามทุ่งออกไปทั่วประเทศ
          แต่การที่จะต้านทานกระแสที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกัน
          วันนี้เลยขอลำดับความเป็นมา เป็นไปกันอีกครั้ง หลังจากเมื่อกรรมการปฏิรูปประเทศไทย โดย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว กระแสดังกล่าวหาได้ลดลง หรือ หายเข้ากลีบเมฆไปไม่
          การผลักดันหรือเสนออย่างเป็นทางการเกิดขึ้นอีกครั้งใหญ่ สภาพัฒนาการเมือง ซึ่งมี ศ.สุดจิต บุญบงการ เป็นประธาน ได้จัดประชุมสมัชชาประชาธิปไตยชุมชนสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ได้ส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายจากเวทีระดับภาค 5 ภาคต่อรัฐบาล โดย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ
          หลังรับข้อเสนอแล้ว นายยงยุทธ กล่าวให้ข้อสังเกตว่า "ข้อเสนออยู่ในหัวใจของรัฐบาลอยู่แล้ว เป็นความเข้าใจที่แจ่มแจ้งชัดเจน และอย่าได้เคลือบแคลงว่ารัฐบาลจะไม่เข้าใจเจตนาของท่าน เพียงแต่ว่าบางเรื่องต้องใช้เวลา"
          "ผมพยายามที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ที่ว่า การปกครองที่ดีที่สุดคือการปกครองตนเองของพี่น้องประชาชน ไม่มีใครทราบปัญหาท้องถิ่นได้ดีกว่าคนในท้องถิ่นเอง ไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหาท้องถิ่นได้ดีกว่าคนในท้องถิ่นเอง"
          หลังจากรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล รับข้อเสนอแล้ว ต่อมาเกิดความเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองปรากฏการณ์
          ผมจะลำดับทีละเหตุการณ์ ที่น่าจะสะท้อนถึงความพยายามปรับตัวของบุคคลที่มีอำนาจและส่วนราชการที่มีบทบาทสำคัญ ในความเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย
          ในโอกาสครบรอบ สถาปนากระทรวงมหาดไทย ครบ 120 ปี ในปี 2555 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสัมมนาวิชาการ เปิดบ้าน-เปิดใจ
          (Open-House Seminar) "ถอดรหัสมหาดไทย : ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง" วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ
          ต่อมาได้สรุปผลสัมมนาโดยละเอียดแจ้งต่อที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดทุกกรม ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา และถ่ายทอดไปยังนายอำเภอ ปลัดอำเภอทุกคนทั่วประเทศ
          ทั้งความเคลื่อนไหวและเนื้อหาสาระการพูดคุย น่าสนใจ ผมจึงเอามาบอกต่อ เพื่อร่วมกันติดตามว่า สุดท้ายแล้วรัฐบาลและมหาดไทยปรับตัวกับข้อเสนอ ท้องถิ่นหรือจังหวัดจัดการตนเองอย่างไร หรือไม่
          เวทีเสวนาดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายสมพร ใช้บางยาง อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ นักวิชาการ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มี นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการอภิปราย ผู้ฟังหลายร้อยคน
          แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัด ต้องขอเสนอทีละท่านตามลำดับ แต่ละคนมีมุมมองเรื่องนี้และข้อเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยอย่างไร
          นายสมพร ใช้บางยาง เมื่อกล่าวถึงการ กระจายอำนาจหรือการปฏิรูป ในมุมมองของกระทรวงมหาดไทย อาจคิดว่าจะทำให้อำนาจลดลง แต่อยากจะแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยได้พัฒนามาร้อยกว่าปีโดยใช้การรวมศูนย์ซึ่งช่วยให้บ้านเมืองอยู่รอดมาได้ เนื่องจากความซับซ้อนของสังคมยังน้อย
          ขณะที่ผู้ปกครองสมัยก่อนยังมีคุณธรรมจริยธรรมต่อประชาชนและจิตสำนึกต่อสังคมมาก
          "แต่ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โลกาภิวัตน์และทุนได้ทำลายฐานทางสังคม โดยเฉพาะสังคมฐานล่างที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบอย่างมาก ขณะที่ผู้บริหารประเทศหรือมีอำนาจปกครองก็เปลี่ยนไป การรวมศูนย์จึงมีลักษณะที่เป็นไปเพื่อส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม การรวมศูนย์จึงตอบโจทย์ (ปัญหา ความต้องการของชุมชนฐานราก) ของประชาชนไม่ได้ เราจึงควรสร้างฐานประเทศ คือ ชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยชุมชน ก็คือ ประชาชน ส่วนท้องถิ่น คือ
          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์กรรองรับที่ใกล้ตัวประชาชนมากที่สุดและมาจากประชาชนเอง ถ้าฐานเข้มแข็ง ยอดก็จะเข้มแข็ง ดังนั้น จึงนำมาสู่แนวคิดข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ในการปรับโครงสร้างอำนาจที่ผ่านมา"
          "หลังจากการกระจายอำนาจในปี พ.ศ.2540 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การสร้างชุมชนเข้มแข็งจึงไม่ได้เกินเลยจากอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย และเมื่อมองภาพรวมของประเทศก็จะเห็นว่ามีความจำเป็นในการปรับโครงสร้างอำนาจ ดังนั้น การปฏิรูป อาทิ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอาจจะยังไม่ได้เกิดในตอนนี้ หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ทำอย่างไรให้ชุมชนฐานรากเข้มแข็งซึ่ง
          สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงมหาดไทยอยู่แล้ว สาระสำคัญคือ ยึดเป้าหมายที่ประโยชน์ของประชาชนร่วมกันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งของประเทศและกระทรวงมหาดไทยต่อไป" มนุชญ์ "มหาดไทย/ราชการส่วนภูมิภาคต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ประชาชน/ท้องถิ่นเข้มแข็ง" สมพร "ขอให้ยึดแผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย และกรมในสังกัดซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดไว้แล้ว และทำงานโดยยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง ตลอดจนเปลี่ยนแปลงทัศนคติ รับฟังความเห็นที่เปิดกว้าง และเน้นให้เกิดการปฏิบัติจริงโดยหาความสมดุลระหว่างการบริหารงานและการตอบสนองทางการเมือง" มนุชญ์ "ภายใต้ความต้องการของท้องถิ่นที่จะต้องตอบสนอง บทบาทของภูมิภาคควรเป็นอย่างไร บทบาทของมหาดไทยในการส่งเสริมภูมิภาคควรเป็นอย่างไร"
          สมพร "โดยส่วนตัวไม่ได้ติดใจว่าจะมีหรือไม่มีภูมิภาค ตราบใดที่ชุมชนมีความเข้มแข็งก็อาจไม่ต้องปรับเปลี่ยนมาก แต่ปัจจุบันการปรับโครงสร้างเป็นสิ่งจำเป็น โดยในระยะสั้น ภูมิภาคยังคงมีความจำเป็น แต่ต้องมีการปรับบทบาทซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรในจังหวัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นพี่เลี้ยงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วลดบทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติลง อีกด้านหนึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยค่อนข้างละเลยวิชาการ/ข้อมูลช่วงสิบปีข้างหน้า มหาดไทยจึงควรให้ความสำคัญด้านนี้อย่างจริงจังโดยสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรเพื่อทำให้การทำงานระดับภูมิภาคมีความเข้มแข็ง"
          "ที่ผ่านมา จากการทำงานร่วมกับท้องถิ่น การสร้างชุมชน/ท้องถิ่นเข้มแข็งต้องอาศัยท้องที่ท้องถิ่น และชุมชน ซึ่งหากกระทรวงมหาดไทยสามารถทำให้ทั้งสามส่วนนี้พัฒนาไปพร้อมกัน ก็จะทำให้สังคมโดยรวมเข้มแข็งได้ โดยมองเป้าหมายระยะยาว คือ การให้ท้องถิ่นเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยและพัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมือง"
          คนต่อไปเห็นอย่างไร ขอไว้ต่อสัปดาห์หน้า ละครับ

 ท้องถิ่นจัดการตนเอง (2) (ท้องถิ่นจัดการตนเอง) -
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555
          สมหมาย ปาริจฉัตต์

          สัปดาห์ที่แล้ว ผมเล่าถึงความเคลื่อนไหวของกระทรวงมหาดไทย ที่มีต่อข้อเสนอของสมัชชาประชาธิปไตยชุมชน สู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ซึ่งสภาพัฒนาการเมืองเป็นแกนหลักให้ชุมชนท้องถิ่นมาพูดคุยกันและทำเป็นข้อเสนออย่างทางการ
          โดยกระทรวงมหาดไทยใช้โอกาสครบรอบ 120 ปี สถาปนากระทรวง จัดสัมมนาวิชาการรับฟังความคิดเห็น หัวข้อ "เปิดบ้าน เปิดใจ ถอดรหัสมหาดไทย ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง" เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ
          เจ้าภาพบอกว่าเป็นการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การปรับบทบาทของกระทรวงมหาดไทย
          ผมนำมารายงาน ยังไม่จบ ต้องต่ออาทิตย์นี้
          คุณมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินรายการ ตั้งประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อกระทรวงมหาดไทยที่สำคัญมีอะไรบ้าง และกระทรวงมหาดไทย/การบริหารราชการส่วนภูมิภาคควรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร
          ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รอง ผอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สะท้อนมุมมองว่า ประเทศไทยมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ 3 เรื่องซึ่งเป็นโจทย์ใหม่สำหรับการพัฒนาพื้นที่ คือการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ และการเป็นประชาคมอาเซียน
          กล่าวคือ 1. การเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะภูมิอากาศ ส่งผลต่อวัฏจักรของน้ำ ทำให้โอกาสเกิดน้ำท่วมสูงขึ้น โดยประเทศไทยอยู่ในโซนที่จะมีฝนตกมากขึ้นประมาณ 10% และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องบริหารจัดการ
          2. การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ สังคมผู้สูงอายุทำให้ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุมากขึ้น
          3. การเป็นประชาคมอาเซียน โดยผลกระทบที่จะเกิดตามมา อาทิ การเคลื่อนย้ายของคน แรงงานต่างชาติ ในกรณีประเทศจีนจะเห็นได้ว่ามณฑลมีบทบาทในการเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศไทยซึ่งสามารถกำหนดมาตรการทางการค้าที่อาจกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่ได้ อาทิ การตีกลับสินค้า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเข้ามาดูแลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น พรมแดนที่หายไปจึงส่งผลกระทบต่อการจัดการพื้นที่
          ดังนั้น ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงต่างๆ จึงท้าทายต่อภารกิจการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชนของกระทรวงมหาดไทย ขณะที่โจทย์เก่าที่มีอยู่หลายสิบปี คือ การขาดระบบประสานงานในพื้นที่ ต่างคนต่างทำส่งผลให้แก้ปัญหาชาวบ้านได้ไม่ครบถ้วน
          ขณะที่ปัจจุบันสถานการณ์แย่กว่าที่ผ่านมา คือในระยะไม่ถึง 10 ปีมานี้กระทรวงต่างทำงานแย่งประชาชน อาทิ มีอาสาสมัครของตนเอง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงของกระทรวงมหาดไทยที่หากกุมพื้นที่ไม่ได้ก็จะเกิดปัญหาในการทำงาน
          ทางออกที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ทำนำร่อง คือ การสร้างระบบบูรณาการความร่วมมือโครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบ ABC (Area-Based CollaborativeResearch) ขึ้น โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย คือ กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยซึ่งสนับสนุนแนวคิดและเครื่องมือโครงการนี้
          หากกระทรวงมหาดไทยไม่ทำก็จะไม่สามารถยึดกุมการทำงานในพื้นที่ได้ ในขณะที่จากมุมมองของชุมชน ยังให้ความเคารพต่อนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอยู่มาก
          แต่การทำงานแบบบูรณาการไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยชุมชนหรือท้องถิ่นเท่านั้น หากแต่ต้องเชื่อมทุกจุดเข้าหากันซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีศักยภาพสามารถบูรณาการได้ในระดับพื้นที่
          ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผิดที่จะเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ควรเป็นการที่ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคและส่วนกลางทำงานเสริมซึ่งกันและกัน
          "กระแสชุมชนปกครองตนเองที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีความคล้ายคลึงกับการจัดตั้งมณฑลของจีนในลักษณะใด" คุณมนุชญ์ ตั้งประเด็นต่อ
          ดร.สีลาภรณ์ "การจัดการตนเองมีการตีความไว้ค่อนข้างมาก แต่ควรมองในเชิงปฏิบัติโดยดูบริบทที่เป็นอยู่ อาทิ การรวมศูนย์อำนาจในอดีตของไทยเพื่อป้องกันการล่าอาณานิคม แต่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน การจัดการปกครองแบบมณฑลให้แข็งแรงแบบจีนจึงจำเป็นมาก"
          "ดังนั้น ภูมิภาคจึงยังคงมีความจำเป็น เนื่องจาก 1.การซื้อเสียงระดับท้องถิ่นที่ยังคงมีอยู่ 2.ระบบคัดกรองคนของกระทรวงมหาดไทยยังดีค่อนข้างมาก 3.ภาคประชาชนแม้จะเริ่มเติบโตแต่ยังมีลักษณะต่างคนต่างอยู่"
          "อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระทรวงมหาดไทยต้องทำให้สำเร็จภายใต้วิกฤตและความท้าทาย คือ การสร้างระบบการปกครองในพื้นที่ที่เข้มแข็งต้องมีอิสระคล้ายกับมณฑลของจีนแต่ก็ต้องสร้างดุลอำนาจ ซึ่งที่สำคัญ คือ ดุลประชาชน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น  conductor ในระยะเวลา 5 ปีหลังจากนั้น ระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นระบบหลักประกัน และท้องถิ่นจะเป็นระบบบริการ (service)
          "นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยจะต้องให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลพื้นที่เพื่อกุมการบริหาร การบริหารโดยใช้ความรู้เพื่อจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นและสร้างความร่วมมือเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย"
          ครับ ความเห็นของวิทยากรอีกสองท่าน คิดอย่างไรคงขอไว้ว่าต่อสัปดาห์หน้า ทั้งหลายทั้งปวงนี้ การขยับตัวของกระทรวงมหาดไทย สะท้อนถึงความพยายามหาทางออกท่ามกลางแรงกดดัน อย่างน้อยให้ฝ่ายข้าราชการประจำ ได้ฟังแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิ ไปประกอบการปรับวิธีคิด และการปฏิบัติของตัวเอง ลดอำนาจนิยม บริหารในแนวดิ่ง เป็นแนวราบให้มากขึ้น
          ขณะเดียวกัน ฝ่ายการเมืองผู้กำหนดนโยบาย ได้ฟังด้วยว่า คนอื่นๆ เขาคิด และช่วยชี้แนะทางออกอย่างไร ในเรื่อง "ท้องถิ่นจัดการตนเอง"
          ส่วนข้อเสนอทั้งหมดของสมัชชาท้องถิ่นมีอย่างไร หลังฟังความเห็นของวิทยากรที่เหลืออีก 2 ท่านแล้ว ผมจะนำมาเล่าให้ฟัง
          รวมทั้งความเคลื่อนไหวในระดับรัฐบาลกลางอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นจริงหรือไม่ มีความหวัง หรือไร้ความหวัง เชื่อได้หรือไม่ แค่ไหน ต้องตัดสินใจกันเองล่ะครับ


คอลัมน์ ไทยมองไทย: ท้องถิ่นจัดการตนเอง (3) (ท้องถิ่นจัดการตนเอง) -
มติชนสุดสัปดาห์  Issued date 21 September 2012
          สมหมาย ปาริจฉัตต์
          ครับ มาว่ากันต่อถึงทัศนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ต่อข้อเสนอ ท้องถิ่นจัดการตนเอง ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเรียกร้องให้ยุบราชการส่วนภูมิภาค ลนายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ผู้ดำเนินรายการ ตั้งประเด็น "ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีรูปแบบการปกครองเหมือนประเทศไทย มีการจัดการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเปลี่ยนแปลงไป หรือมีปัญหาอย่างไร"
          ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ ผู้อภิปรายคนต่อมา
          "ความเปลี่ยนแปลงของกระทรวงมหาดไทยที่ผ่านมา คือ มีขนาดกะทัดรัดลง แต่กระทรวงมหาดไทยก็มีความสำคัญและจำเป็นอยู่ เพราะการบริหารราชการแผ่นดินมีทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นที่ยังต้องเชื่อมกันอยู่ แต่ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการบริหารส่วนภูมิภาคก็มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงในปัจจุบัน หากพิจารณาประเทศฝรั่งเศส จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยหลายประการ อาทิ ความเป็นรัฐเดี่ยว ขนาดพื้นที่ กำเนิดของกฎหมายเทศบาลฉบับแรก หรือการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีทางอ้อม"
          ในอดีตประเทศฝรั่งเศสแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น การแบ่งอำนาจให้ภูมิภาคในฝรั่งเศสเกิดขึ้นอย่างจริงจังในปี ค.ศ.1852 โดยระบุเหตุผลไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่า "แม้จะสามารถปกครองในระยะไกลได้ แต่ก็เป็นการดีกว่าถ้าสามารถบริหารได้ในระยะใกล้" จึงเกิดการแบ่งอำนาจให้ภูมิภาคขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีการแบ่งการปกครองเป็น 27 ภาค 101 จังหวัด 342 อำเภอ และ 4,055 ตำบล
          สำหรับภาคนั้น เป็นความพยายามรวมกลุ่มจังหวัดตั้งแต่สมัยนายพลเดอโกล แต่เกิดขึ้นอย่างเป็นจังหวัดเป็นเขตการปกครองส่วนภูมิภาคที่หน่วยงานส่วนกลางส่งตัวแทนมาประจำ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ อาทิ ดูแลประโยชน์ของชาติ ดูแลให้มีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กำกับดูแลฝ่ายปกครอง การปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนทั้งหมด ยกเว้นทหาร บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและการศึกษา
          อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การให้สัตยาบันการลงนามของท้องถิ่น เรียกว่า การควบคุมก่อน แต่หลังปี ค.ศ.1982 ได้เปลี่ยนเป็นการควบคุมภายหลัง คือ ข้อตกลง/สัญญาที่ท้องถิ่นลงนามจะมีผลทันที แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถพิจารณาและฟ้องศาลปกครองได้ หากพบความผิดปกติภายหลัง หรือหากเป็นกรณีการเงินก็จะฟ้องไปยังศาลตรวจเงินแผ่นดิน
          ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นตัวแทนในการรักษาประโยชน์ของรัฐอย่างแท้จริง โดยสำนักงานผู้ว่าราชการจังหวัดแบ่งเป็น 3 แผนก คือ กฎระเบียบส่วนกลาง กิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภารกิจรัฐ
          ส่วนเขต/อำเภอ มีผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลประโยชน์ของรัฐในนามของผู้ว่าราชการจังหวัด ขณะที่ตำบลเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่มีฐานะเป็นหน่วยงานภูมิภาค
          ที่น่าสังเกต คือ นายกเทศมนตรีของฝรั่งเศสจะมี 2 สถานะ คือ เป็นตัวแทนของรัฐ ทำหน้าที่ อาทิ งานทะเบียน และเป็นตัวแทนของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้น เทศบาลจึงทำหน้าที่ในลักษณะภูมิภาคด้วย
          มนุชญ์ "การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฝรั่งเศสเป็นอย่างไร" ศ.ดร.นันทวัฒน์ ในฝรั่งเศส การปรับระบบการกำกับดูแลท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โดยกฎหมาย และโดยองค์กรที่มีอำนาจสั่งพักงานหรือเสนอปลดผู้บริหารท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่ในทางปฏิบัติการควบคุมทั้งสองประเภททำได้ยาก ดังนั้น ภูมิภาคจึงสำคัญเพราะช่วยแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อเอกภาพของรัฐ ในมุมมองของประชาชน ภูมิภาคทำให้คนใกล้ชิดกับรัฐมากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงกับส่วนกลาง
          ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ "เมื่อ 120 ปีที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยมีบทบาทในการสร้างชาติ การรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางหรือการสามารถใช้อำนาจรัฐได้ทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากต่างประเทศ เมื่อมองถึงในปัจจุบัน มีข้อสังเกตว่า กระทรวงมหาดไทยมีการปรับตัวค่อนข้างช้า เนื่องจากการต่อสู้ช่วงชิงทางการเมือง ขาดการสร้างระบบราชการให้สามารถปรับตัวได้ ซึ่งแม้แต่การปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ.2542 กระทรวงมหาดไทยก็ถูกแรงกดดันทางการเมืองให้ปรับเปลี่ยนซึ่งก็เป็นการปฏิรูปที่ยังไม่ตกผลึกทางความคิดนัก ขณะที่การเรียกร้องให้ยุบเลิกภูมิภาคก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่ง
          "บริบทสำคัญที่แวดล้อมกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ภาคประชาชนที่มีความคิดเป็นของตัวเองและแตกต่างกันมากขึ้น ไม่สยบยอมต่อความไม่เป็นธรรม/เหลื่อมล้ำ ขณะที่ระดับโลกก็มีความท้าทายทางทรัพยากร ความมั่นคงทางอาหาร เชื้อโรค และวิกฤตเศรษฐกิจในบริบทโลก ภารกิจหลักของกระทรวงมหาดไทยในแต่ละประเทศก็มีความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายใน ภัยพิบัติ การเคลื่อนย้ายคน การตั้งถิ่นฐาน แต่ในแต่ละประเทศก็มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย อาทิ ในสหรัฐอเมริกา กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบเรื่องที่ดินของรัฐบาลมลรัฐ ชนเผ่า ป่าไม้ ในญี่ปุ่น ดูแลระบบราชการ การส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการศึกษา ในฮ่องกง ดูแลการกีฬาวัฒนธรรม ชุมชน เป็นต้น
          สำหรับประเทศไทย ภารกิจสำคัญที่กระทรวงมหาดไทยควรทำ คือ การบูรณะปฏิสังขรณ์ทางความคิดของคนในสังคม โดยสิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน ได้แก่
          1. คุ้มครองสิทธิและสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย อาหาร ภูมิปัญญา
          2. เปิดพื้นที่ทางความคิดของประชาชนให้เรียนรู้ชีวิตด้วยตนเองและพอเพียงให้มากขึ้น
          3. สนับสนุนการสื่อสารให้เกิดประสบการณ์ร่วมเพื่อสร้างสำนึกความเป็นปวงชน
          4. ทำงานในลักษณะคิด/ทำอย่างจริงจังให้เกิดมรรคผลอย่างจริงจัง
          ในปัจจุบันจะพบว่า ประเทศที่ประสบปัญหาในโลกปัจจุบัน คือ รัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจ เพราะมักเกิดข้อขัดแย้งทางความคิดและทางปฏิบัติอยู่เสมอ ดังนั้น ประเทศไทยและฝรั่งเศส จึงประสบปัญหาเดียวกันโดยในทางวิชาการ การกระจายหรือการมอบอำนาจมากน้อยเพียงใดอยู่บนหลักการ 2 ด้าน คือ วิธีการจัดสรรทรัพยากร และวิธีการใช้งบประมาณเพื่อจัดทำบริการของรัฐ
          ดังนั้น คำตอบในเวลานี้ อาจพิจารณาได้ 2 มุมมอง คือ ทางการเมือง ฝ่ายการเมืองต้องการการรวมศูนย์อำนาจ เพื่อสามารถทำนโยบายที่หาเสียงไว้ได้ ขณะที่ชุมชนต้องการการกระจายอำนาจเพื่อให้มีโอกาสในชีวิต ส่วนในทางบริหาร ภูมิภาคถูกมองว่ามีความล่าช้าจึงต้องการให้ยุบเลิก ขณะที่ฝ่ายที่ยังต้องการให้คงภูมิภาคไว้ก็เนื่องจากเพื่อให้เป็นตัวแทนในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอยู่
          สำหรับประเทศไทย ในระยะสั้น ด้วยเหตุผลภัยคุกคามระดับโลก ความแตกแยกและความหลากหลายทางความคิด แรงกดดันทางทหาร และกลุ่มทุน ภูมิภาคจึงยังควรคงไว้ แต่ต้องปรับบทบาทให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันก็จะต้องเร่งกระจายภารกิจที่ถ่ายโอนไปแล้วให้สำเร็จด้วย
          บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในอนาคตควรเป็นอย่างไร" นายมนุชญ์ ศ.ดร.ชาติชาย "ในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดมีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเดิมเป็นหน่วยงานภูมิภาค มีการทำงานในลักษณะเครือข่าย (network) ประเทศไทยก็มีความพยายามในลักษณะเดียวกัน อาทิ การร่วมมือกันในการจัดการมลภาวะ การค้าขาย แต่ยังขาดศักยภาพทางการเงินการคลังที่จะทำร่วมกัน โดยหากจะจัดกลุ่มแล้ว จังหวัดจะมี 2 ลักษณะ คือ 1. แบบแข็งตัว คือ เน้นการนำนโยบายไปปฏิบัติเชิงสั่งการ ควบคุม อาทิ ประเทศฝรั่งเศสและไทย 2. แบบหารือ (network) คือ ให้ท้องถิ่นมีตัวแทนปรึกษาหารือร่วมกันในการทำงาน อาทิ ประเทศญี่ปุ่น และสวีเดน
          "ขณะนี้ กระทรวงมหาดไทยจะต้องนำคนก้าวพ้นมายาทางการเมือง กำจัดคอร์รัปชั่นและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนจัดการทุนและทรัพยากร ดังนั้น จึงมีหน้าที่สำคัญในการฟื้นฟูทุนชุมชน การเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างความเป็นมนุษย์ การเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรี"
          การอภิปรายจบลงเท่านี้ ที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย รับทราบ ผลในทางปฏิบัติต่อไปจะเป็นอย่างไร ต้องติดตาม

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

จ้างลูกเขยเข้าเป็นคู่สัญญา...พ่อตาจึงต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ !


จ้างลูกเขยเข้าเป็นคู่สัญญา...พ่อตาจึงต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ !

ในการออกคำสั่งทางปกครอง หากผู้มีอานาจออกคำสั่งทางปกครองมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง (มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539) เช่น มีเหตุโกรธเคืองกับคู่กรณีจะมีผลทำให้คำสั่งทางปกครองที่ออกไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

           การที่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือนายกเทศมนตรีได้ใช้อำนาจอนุมัติให้จ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งมีลูกเขย เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล จะถือว่าผู้มีอำนาจมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การอนุมัติจ้างซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และจะถือว่านายกเทศมนตรีนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางอ้อมในสัญญา ที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา อันเป็นพฤติการณ์ที่จะมีผลทำให้นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่
 
            คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องของนายกเทศมนตรีได้อนุมัติให้จ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีบุตรเขยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่า ผู้ฟ้องคดีมีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ตามโครงการจ้างเหมาซ่อมแซมถนนลูกรังและหินคลุกในเขตเทศบาล และภายหลังจาก ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงให้ทำการสอบสวนพยานหลักฐานและเสนอความเห็นแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ว่าราชการจังหวัด) มีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. โดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีอนุมัติให้ซ่อมแซมถนนในวันที่ 22 กันยายน 2548 อนุมัติให้จ้างวันที่ 21 กันยายน 2548 นอกจากนี้ เงินที่ได้จากการรับจ้างส่วนหนึ่งจะกลายเป็นสินสมรสซึ่งบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับ ทั้งเป็นผู้มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแสวงหาผลประโยชน์จากเทศบาลให้แก่ตนเอง โดยทางอ้อม จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดความเป็นนายกเทศมนตรี
 
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบุตรสาวไม่ได้เป็นหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วนจากัด ไม่มีอำนาจบริหาร และแม้จะมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรสาวแต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน เพราะสิทธิ จะเกิดขึ้นเมื่อบุตรสาวตายก่อนเท่านั้น อีกทั้ง ไม่ได้รับการอุปการะจากบุตรสาว จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว 

พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีถือเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539 และเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาอันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการสั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ฟ้องคดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมีอำนาจในการสั่งซื้อหรือ สั่งจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ และมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน รวมทั้งมีอำนาจลงนามในสัญญา ตามระเบียบนี้ 

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้อนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจากัด ช. โดยมีนาย ส. ซึ่งสมรส กับบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานปลัดเทศบาลและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1077 ประกอบกับมาตรา 1087 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน และผู้ฟ้องคดีก็ได้รู้ถึงความข้อนี้ดีอยู่แล้วในเวลาที่อนุมัติให้ทำสัญญาตามบันทึกขออนุมัติซ่อมแซม ลงวันที่ 22 กันยายน 2548 และบันทึก ขออนุมัติจ้าง ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ประกอบกับการอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเป็นคำสั่งทางปกครอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และผู้ฟ้องคดีชอบที่จะดำเนินการ ตามวรรคสอง ของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539 ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีอนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ให้ดาเนินโครงการกับเทศบาลโดยไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดาเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นกรณี ที่ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้เข้าไปมีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือ ที่เทศบาลจะกระทำ ตามมาตรา 48 จตุทศ วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) .. 2546 แล้ว และผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตามมาตรา 48 ปัญจทศ (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว 

สำหรับกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เคยเป็นคู่สัญญากับเทศบาลมาแล้วก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะเข้าดารงตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุตรสาว และจะมีสิทธิรับมรดกของบุตรสาวหรือไม่ เป็นเรื่องไม่แน่นอน รวมทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก็ตาม เหตุดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี และไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตามที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาล เป็นคู่สัญญาทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 68/2555) 

คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรี ในคณะเทศมนตรีของเทศบาลแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ว่า จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรักษาผลประโยชน์ของราชการโดยไม่ใช้โอกาสจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวสร้างประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น และเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539 หมายความถึง พฤติการณ์ที่ชวนให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะใช้อำนาจที่ไม่เป็นกลาง ดังนั้น หากผู้ใช้อำนาจเห็นว่าตนมีพฤติการณ์ที่ชวนให้ผู้อื่นเคลือบแคลงสงสัยในการใช้อำนาจว่าจะไม่เป็นกลาง ก็จะต้องหยุดการพิจารณาเรื่องนั้นก่อนและแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ แต่หากไม่ดำเนินการเช่นว่านั้นแล้ว การใช้อำนาจ ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจเพิกถอนได้ ครับ!
นายปกครอง

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

'อ๊อด'ชูศอ.บต.-กอ.รมน.เลือก5ผู้ว่าฯชายแดนใต้

'อ๊อด'ชูศอ.บต.-กอ.รมน.เลือก5ผู้ว่าฯชายแดนใต้  - 
ไทยโพสต์  Issued date 7 September 2012

          ไทย โพสต์ * รัฐบาลผุดไอเดียอีกแล้ว คราวนี้ติดดาบ "ศอ.บต. - กอ.รมน." เลือกผู้ว่าราช การจังหวัดเองแล้วเสนอให้นายกฯ - มท.1 พิจารณาอีกครั้ง "ยุทธศักดิ์" ระบุเพื่อให้ทำงานเป็นทีมเวิร์กมากขึ้น โดยไม่ต้องรอให้หน่วยเหนือส่งคนลงไป ขณะที่ "เฉลิม" เสียดายประชาธิปัตย์มีเงื่อนไขหารือดับไฟใต้แต่ "อภิ สิทธิ์" ยันใช้เวทีสภาดีที่สุด เผยประชุมลับไม่ต้องถ่ายทอดก็ได้
          พล.อ.ยุทธ ศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เปิดเผยเมื่อวันที่6 กันยายน ถึงแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าขณะนี้กำลังมีการเขียนโครงสร้างเสนออีกครั้ง ถ้าเป็นที่ยอมรับทั้ง ศอ.บต., กอ.รมน. และกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า แล้วนโยบายก็ จะกระชับมากขึ้น   โดยนายกรัฐมนตรีให้อำ นาจ กอ.รมน.เรียกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในกอง ทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า ส่วนผู้บัญชาการตำ รวจภูธรภาค 9 เป็นผู้มีสิทธิเรียกผู้กำกับในการสั่งการ และนับแต่นี้ไปหน่วยงานระดับล่าง จะเป็นผู้เสนอการทำงานเป็นทีมให้กับผู้บังคับบัญชาให้เห็นภาพ ทั้งทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง
          "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนใต้ มีสิทธิในการเลือกนายอำ เภอที่ตั้งใจทำงาน และตัวผู้ว่าราชการจังหวัด ทาง ศอ.บต. และ กอ.รมน. เป็นผู้เสนอรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่าต้องการบุคคลอย่างไรไปทำงานในภาคใต้ เพื่อให้เกิดทีมเวิร์ก ไม่ใช่หน่วยเหนือส่งคนนั้นไปที"คนนี้ไปที"
          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชา การทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาภาคใต้เมื่อวันที่5 กันยายนที่ผ่านมา ว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่รัฐบาลให้ความสนใจ ซึ่งการแก้ไขปัญหามีหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรที่ยังไม่มีความพร้อมทหารเน้นทางด้านยุทธวิธีเป็นหลัก การแก้ไขปัญหานั้นต้องใช้เวลา ดังนั้นหน่วยงานอื่นๆต้องมีความพร้อมด้วยในการแก้ไขปัญหา
          "การ แก้ไขปัญหาภาคใต้ไม่ใช่ทหารเป็นผู้รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว และที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหานั้นไม่ใช่ความล้มเหลว เพราะเรามีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ถ้าหน่วยงานใดบกพร่องก็ต้องไปดำเนินการแก้ไข คำว่าล้มเหลวหรือไม่ล้มเหลวนั้น อย่านำสถิติมาเป็นตัวชี้วัด"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
          ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ภาคใต้ ปฏิเสธที่จะร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภาคใต้ว่า เป็นสิทธิที่จะปฏิเสธ เราคงไปบังคับไม่ได้ สังคมจะเป็นผู้ตัดสินเอง เพราะปัญหาภาคใต้กระทบต่อคนทั้งประเทศ และ ส.ส.ภาคใต้ เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งนั้น ดังนั้นน่าจะรู้อะไรดีๆ กว่าฝ่ายรัฐบาล การมากล่าวหาว่ารัฐบาล 1 ปีแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ต้องย้อนกลับไปว่า คุณบริหารประเทศมา 2 ปี 8 เดือน ทำอะไรได้บ้าง ในยุคนี้การก่อเหตุน้อยลง และเปลี่ยนเป้าหมายจากประชาชน พระสงฆ์ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ตนไม่ลงพื้นที่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้เรื่องอะไรเลย เพราะคุยกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตลอด
          "เสียดายที่พวกพรรคประชา ธิปัตย์มีเงื่อนไขว่าต้องให้นายกฯมานั่งร่วมประชุมด้วย แต่ผมมองว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะหนังสือที่เชิญผมไม่ได้ทำเองโดยลำพัง แต่ได้แจ้งให้นายกฯ ทราบ และท่านได้กำชับให้ทำหนังสือเชิญฝ่ายค้าน และถ้าเสนอแนะอะไรมาก็ให้รับหมด เห็นด้วยทุกเรื่องและมั่นใจว่าประชาธิปัตย์ต้องเสนอแนะในสิ่งที่ทำได้ ผมเชื่ออย่างนั้นและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา ถ้าแนวทางประชาธิปัตย์ดีและสามารถแก้ปัญหาได้ ผมจะแถลงข่าวประกาศให้คนไทย ให้ชาวโลกรู้ว่าประชาธิปัตย์เก่ง เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาได้ และบ้านเมืองจะได้สงบสุข" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
          เมื่อถามว่าประชา ธิปัตย์อยากให้ใช้ เวทีสภาในการหารือการแก้ปัญหา ร.ต.อ. เฉลิมกล่าวว่า เห็นประชาธิปัตย์พูดทุกปี เป็นฝ่ายค้านทีไรก็พูดตลอด ก็ต้องทำใจ เพราะนายอภิสิทธิ์ก็เป็นคนแบบนี้ ขอให้สื่อและประชาชนตัดสินเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายค้าน รัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯ ก็ทำงานเต็มที่
          ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ในภาคใต้ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรลงไป อย่างที่นายกฯ เดินทางไปก็มีระเบิดต้อนรับ ถ้าตนลงไปคงระเบิดหลายจุด คงจะตูมหนัก เลยไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อน แต่ถ้าประชาธิปัตย์ลง ไปไม่มีหรอก เงียบ เสียงประทัดยังไม่มี เข็ม ตกยังได้ยิน ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้กล่าวหาประ ชาธิปัตย์ว่าอยู่เบื้องหลัง ประชาชนไปคิดเอาเองว่าเพราะอะไร
          "ผมจะลงพื้นที่แน่นอน แต่ไม่บอกว่าตอนไหน เพราะจะมีระเบิดรอ ผมจะไปแบบลับลวงพราง ถ้าไม่ไปก็เสียเหลี่ยมลูกกำนันหมด" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
          นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่นายกฯลงพื้นที่ เพื่อให้กำลังใจต่อเจ้าหน้าที่และประชาชน แต่จะเห็นว่าความพยายามที่จะระดมทุกๆ ฝ่ายให้มาทำงานเรื่องนี้ก็ยังขาดความชัดเจน ความเป็นเอกภาพ ตนเลยได้เข้าไปพบประธานสภาฯ เพื่อใช้เวทีสภาในการพูดคุยกันในเรื่องนี้เป็นพวกตน เป็น ส.ส. ก็ต้องใช้เวทีของสภานำเสนอปัญหาเหล่านี้ และนายกรัฐมนตรีก็เป็นนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา มีความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว
          นายอภิสิทธิ์กล่าว ว่า เราอยากให้เมื่อพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้วนำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ไข ปัญหา ไม่ใช่ว่าพบกันเฉยๆ แล้วก็ที่สำคัญก็อย่างที่บอกนายกฯ มอบถึง 3 รองนายกฯ ในการแก้ปัญหาตอนนี้ แต่ ร.ต.อ.เฉลิมก็ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของการแก้ ปัญหาตามกฎหมาย
          "ผม คิดว่า เราเอาเวทีหรือเราเอารูปแบบที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ดีกว่า และผมก็บอกด้วยกับท่านประธานนะครับว่า ถ้าสมมติว่า ทางรัฐบาลบอกว่าบางเรื่องมันละเอียดอ่อนประชุมลับ เราก็ยินดี ไม่จำเป็นว่าเราต้องอภิปราย หรือต้องมีการไปถ่ายทอดอะไร ไม่ใช่แบบนี้ แต่เรามาทำหน้าที่กัน ตามระบบของเรา ท่านประธานสมศักดิ์ ท่านเห็นด้วยนะครับ ท่านก็เลยบอกว่าท่านก็จะทำหน้าที่ในการที่จะประสานไปยังรัฐบาล แล้วก็จะแจ้งพวกเรามาอีกครั้งหนึ่งครับ" นายอภิสิทธิ์กล่าว.

ท้องถิ่นจัดการตนเอง

คอลัมน์ ไทยมองไทย: ท้องถิ่นจัดการตนเอง (1)
มติชนสุดสัปดาห์  Issued date 7 September 2012

          สมหมาย ปาริจฉัตต์
        
          เวที เสวนา ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 7 ยังมาไม่ถึง สัปดาห์นี้เลยขอคั่นรายการ ว่าด้วยเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นกระแสที่น่าติดตามไม่น้อยเช่นกัน
          หลังจากล่าสุด ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมพูดถึงการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาล และราชการส่วนกลาง รับฟังความเห็นของภาคประชาสังคมจังหวัดต่างๆ ที่ขอให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในรูปของจังหวัดจัดการตนเองหลายต่อหลายแห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น สงขลา ปัตตานี อำนาจเจริญ ยังคึกคักอยู่นะครับ
          โดยชี้ ว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ในความคิดของนักปกครองฝ่ายความมั่นคงทั้งหลาย ไม่อยากให้เกิดขึ้นง่ายๆ เกรงจะเป็นไฟลามทุ่งออกไปทั่วประเทศ
          แต่การที่จะต้านทานกระแสที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกัน
          วันนี้ เลยขอลำดับความเป็นมา เป็นไปกันอีกครั้ง หลังจากเมื่อกรรมการปฏิรูปประเทศไทย โดย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว กระแสดังกล่าวหาได้ลดลง หรือ หายเข้ากลีบเมฆไปไม่
          การผลักดัน หรือเสนออย่างเป็นทางการเกิดขึ้นอีกครั้งใหญ่ สภาพัฒนาการเมือง ซึ่งมี ศ.สุดจิต บุญบงการ เป็นประธาน ได้จัดประชุมสมัชชาประชาธิปไตยชุมชนสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ได้ส่งมอบข้อเสนอเชิงนโยบายจากเวทีระดับภาค 5 ภาคต่อรัฐบาล โดย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ
          หลังรับ ข้อเสนอแล้ว นายยงยุทธ กล่าวให้ข้อสังเกตว่า "ข้อเสนออยู่ในหัวใจของรัฐบาลอยู่แล้ว เป็นความเข้าใจที่แจ่มแจ้งชัดเจน และอย่าได้เคลือบแคลงว่ารัฐบาลจะไม่เข้าใจเจตนาของท่าน เพียงแต่ว่าบางเรื่องต้องใช้เวลา"
          "ผมพยายามที่จะให้มีการ เลือกตั้งผู้ว่าราชการ ที่ว่า การปกครองที่ดีที่สุดคือการปกครองตนเองของพี่น้องประชาชน ไม่มีใครทราบปัญหาท้องถิ่นได้ดีกว่าคนในท้องถิ่นเอง ไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหาท้องถิ่นได้ดีกว่าคนในท้องถิ่นเอง"
          หลัง จากรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล รับข้อเสนอแล้ว ต่อมาเกิดความเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองปรากฏการณ์
          ผม จะลำดับทีละเหตุการณ์ ที่น่าจะสะท้อนถึงความพยายามปรับตัวของบุคคลที่มีอำนาจและส่วนราชการที่มี บทบาทสำคัญ ในความเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย
          ในโอกาสครบรอบ สถาปนากระทรวงมหาดไทย ครบ 120 ปี ในปี 2555 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสัมมนาวิชาการ เปิดบ้าน-เปิดใจ
          (Open-House Seminar) "ถอดรหัสมหาดไทย : ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง" วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ
          ต่อมาได้สรุปผล สัมมนาโดยละเอียดแจ้งต่อที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดทุกกรม ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา และถ่ายทอดไปยังนายอำเภอ ปลัดอำเภอทุกคนทั่วประเทศ
          ทั้งความเคลื่อนไหวและเนื้อหาสาระ การพูดคุย น่าสนใจ ผมจึงเอามาบอกต่อ เพื่อร่วมกันติดตามว่า สุดท้ายแล้วรัฐบาลและมหาดไทยปรับตัวกับข้อเสนอ ท้องถิ่นหรือจังหวัดจัดการตนเองอย่างไร หรือไม่
          เวทีเสวนาดัง กล่าว ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายสมพร ใช้บางยาง อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ นักวิชาการ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มี นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการอภิปราย ผู้ฟังหลายร้อยคน
          แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัด ต้องขอเสนอทีละท่านตามลำดับ แต่ละคนมีมุมมองเรื่องนี้และข้อเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยอย่างไร
          นาย สมพร ใช้บางยาง เมื่อกล่าวถึงการ กระจายอำนาจหรือการปฏิรูป ในมุมมองของกระทรวงมหาดไทย อาจคิดว่าจะทำให้อำนาจลดลง แต่อยากจะแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยได้พัฒนามาร้อยกว่าปีโดยใช้การรวมศูนย์ซึ่งช่วยให้บ้านเมืองอยู่ รอดมาได้ เนื่องจากความซับซ้อนของสังคมยังน้อย
          ขณะที่ผู้ปกครองสมัยก่อนยังมีคุณธรรมจริยธรรมต่อประชาชนและจิตสำนึกต่อสังคมมาก
          "แต่ ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โลกาภิวัตน์และทุนได้ทำลายฐานทางสังคม โดยเฉพาะสังคมฐานล่างที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบอย่างมาก ขณะที่ผู้บริหารประเทศหรือมีอำนาจปกครองก็เปลี่ยนไป การรวมศูนย์จึงมีลักษณะที่เป็นไปเพื่อส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม การรวมศูนย์จึงตอบโจทย์ (ปัญหา ความต้องการของชุมชนฐานราก) ของประชาชนไม่ได้ เราจึงควรสร้างฐานประเทศ คือ ชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยชุมชน ก็คือ ประชาชน ส่วนท้องถิ่น คือ
          องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์กรรองรับที่ใกล้ตัวประชาชนมากที่สุดและมาจากประชาชนเอง ถ้าฐานเข้มแข็ง ยอดก็จะเข้มแข็ง ดังนั้น จึงนำมาสู่แนวคิดข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ในการปรับโครงสร้างอำนาจที่ผ่านมา"
          "หลังจากการกระจายอำนาจใน ปี พ.ศ.2540 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การสร้างชุมชนเข้มแข็งจึงไม่ได้เกินเลยจากอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย และเมื่อมองภาพรวมของประเทศก็จะเห็นว่ามีความจำเป็นในการปรับโครงสร้างอำนาจ ดังนั้น การปฏิรูป อาทิ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอาจจะยังไม่ได้เกิดในตอนนี้ หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่ทำอย่างไรให้ชุมชนฐานรากเข้มแข็งซึ่ง
          สอด คล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงมหาดไทยอยู่แล้ว สาระสำคัญคือ ยึดเป้าหมายที่ประโยชน์ของประชาชนร่วมกันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งของ ประเทศและกระทรวงมหาดไทยต่อไป" มนุชญ์ "มหาดไทย/ราชการส่วนภูมิภาคต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ประชาชน/ท้องถิ่นเข้ม แข็ง" สมพร "ขอให้ยึดแผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย และกรมในสังกัดซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดไว้แล้ว และทำงานโดยยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง ตลอดจนเปลี่ยนแปลงทัศนคติ รับฟังความเห็นที่เปิดกว้าง และเน้นให้เกิดการปฏิบัติจริงโดยหาความสมดุลระหว่างการบริหารงานและการตอบ สนองทางการเมือง" มนุชญ์ "ภายใต้ความต้องการของท้องถิ่นที่จะต้องตอบสนอง บทบาทของภูมิภาคควรเป็นอย่างไร บทบาทของมหาดไทยในการส่งเสริมภูมิภาคควรเป็นอย่างไร"
          สมพร "โดยส่วนตัวไม่ได้ติดใจว่าจะมีหรือไม่มีภูมิภาค ตราบใดที่ชุมชนมีความเข้มแข็งก็อาจไม่ต้องปรับเปลี่ยนมาก แต่ปัจจุบันการปรับโครงสร้างเป็นสิ่งจำเป็น โดยในระยะสั้น ภูมิภาคยังคงมีความจำเป็น แต่ต้องมีการปรับบทบาทซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรใน จังหวัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นพี่เลี้ยงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วลดบทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติลง อีกด้านหนึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยค่อนข้างละเลยวิชาการ/ข้อมูลช่วงสิบปี ข้างหน้า มหาดไทยจึงควรให้ความสำคัญด้านนี้อย่างจริงจังโดยสร้างให้เป็นวัฒนธรรม องค์กรเพื่อทำให้การทำงานระดับภูมิภาคมีความเข้มแข็ง"
          "ที่ ผ่านมา จากการทำงานร่วมกับท้องถิ่น การสร้างชุมชน/ท้องถิ่นเข้มแข็งต้องอาศัยท้องที่ท้องถิ่น และชุมชน ซึ่งหากกระทรวงมหาดไทยสามารถทำให้ทั้งสามส่วนนี้พัฒนาไปพร้อมกัน ก็จะทำให้สังคมโดยรวมเข้มแข็งได้ โดยมองเป้าหมายระยะยาว คือ การให้ท้องถิ่นเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยและพัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมือง"
          คนต่อไปเห็นอย่างไร ขอไว้ต่อสัปดาห์หน้า ละครับ