วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ปฏิบัติตามคำสั่ง (ทั้งที่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย) ... ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !



ปฏิบัติตามคำสั่ง (ทั้งที่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย) ... ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !
(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555)

ตำรวจหรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คือผู้ดูแลคุ้มครองให้เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนในสังคมโดยมีหน้าที่สำคัญในการรักษากฎหมาย จับกุมและปราบปรามผู้กระทาความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา และยึดถือความถูกต้องเป็นสำคัญ

คดีปกครองที่นำมาเสนอในวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งลงบันทึกประจำวันในคดียาเสพติดไม่ตรงกับความเป็นจริงตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ? มาติดตามกันครับ

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการตำรวจตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการได้ปฏิบัติหน้าที่ เสมียนประจำวันคดี ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ สิบตำรวจโท อ. ได้จับกุมและนำตัวนาย ธ. ผู้ต้องหา และของกลางยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 213 เม็ด มาที่สถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน โดยร้อยตำรวจเอก ม. พนักงานสอบสวนร้อยเวร ได้นำบันทึกการจับกุมมาให้ผู้ฟ้องคดีลงบันทึกประจำวันโดยระบุของกลาง คือ ยาบ้าจำนวน 8 เม็ด และร้อยตำรวจเอก ม. ได้นำบันทึกการจับกุมและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวไปใช้ เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหา

ต่อมาได้มีการดำเนินการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว และคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มีมติว่าพฤติการณ์เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กองบังคับการตำรวจนครบาล 5) โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจนครบาล 5) ได้มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสืออุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ) มีมติยกอุทธรณ์

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในการลงบันทึกประจำวัน ผู้ฟ้องคดีต้องบันทึกตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ผู้ฟ้องคดีไม่มีหน้าที่รับตัวผู้ต้องหาหรือรับของกลางแต่อย่างใด จึงนำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์
การที่ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์โดยปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่ต้องถูกลงโทษไล่ออกจากราชการหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่าขณะที่มีการนำตัวผู้ต้องหาและ ของกลางเข้ามาในห้องพนักงานสอบสวนนั้น ผู้ฟ้องคดีอยู่ในห้องดังกล่าวและได้มีการนำของกลางออกมาวางไว้บนโต๊ะ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีสังเกตเห็นได้และประมาณการได้ว่ามีของกลางยาบ้าจำนวนมากกว่า 8 เม็ด ก่อนจะได้ ลงบันทึกประจำวันคดีดังกล่าว เนื่องจากเม็ดยาบ้าจำนวน 8 เม็ด และจำนวน 213 เม็ด มีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณอยู่มาก การที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ลงบันทึกประจำวันคดีได้ลงบันทึกประจำวันคดีดังกล่าว โดยระบุว่ามีของกลางในคดี คือ ยาบ้า จำนวน 8 เม็ด ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏและที่ตนเองก็ได้รับทราบอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยที่ตามพฤติการณ์แล้วเชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีก็ตระหนักดีว่า การกระทำดังกล่าวจะมีผลเป็นการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้ได้รับโทษน้อยลง กรณีจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามนัยมาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย วินัยตำรวจ พุทธศักราช 2477 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่ผู้ฟ้องคดีกระทำการดังกล่าว
แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าในการลงบันทึกประจำวันรับคดีตามหน้าที่นั้น ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจลงบันทึกประจำวันโดยลำพังหรือโดยพลการต้องเขียนตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในแต่ละคดี ตามคำสั่ง กรมตำรวจ เรื่อง การกำหนดหน้าที่การงานของตำแหน่งในสถานีตำรวจ และผู้ฟ้องคดีได้ลงบันทึกประจำวันรับคดี

ตามคำสั่งของร้อยตำรวจเอก ม. ผู้เป็นพนักงานสอบสวนเวรอาญา แต่เมื่อผู้ฟ้ องคดีได้รู้อยู่แล้วว่าคำสั่งของร้อยตำรวจเอก ม. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ และการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมจะทาให้เสียหาย แก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ แต่แทนที่จะทักท้วงหรือเสนอความเห็นเพื่อให้ ร้อยตำรวจเอก ม. ทบทวนคำ สั่งดังกล่าว แต่กลับปฏิบัติตามคำสั่งโดยดุษฎี พฤติการณ์เช่นว่านี้ของผู้ฟ้องคดีย่อมไม่ทำให้ ผู้ฟ้องคดีพ้นจากความรับผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง การมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 548/2554)

คำวินิจฉัยในคดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะข้าราชการตำรวจที่มีระเบียบวินัย อย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำ สั่งของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น แต่เป็นข้อควรระมัดระวังอย่างยิ่งสำ หรับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในหน่วยงานใดหรือสังกัดใดที่จะต้องยึดถือกฎหมายและระเบียบของทางราชการเป็นสำคัญ ส่วนการ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้น คำ สั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบของทางราชการด้วย หากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายและการกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัย ดังนั้น ข้าราชการจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือความถูกต้องตามกฎหมายเป็นสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ ของประเทศชาติในฐานะข้าราชการที่ดีแล้ว กฎหมายยังเป็นเกราะคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดอีกด้วย
นายปกครอง

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

คู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง



 คู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
นางสาวปารวี พิสิฐเสนากุล พนักงานคดีปกครองชำนาญการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร สำนักวิจัยและวิชาการ
สำนักงานศาลปกครอง
สัญญาทางปกครองแม้จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาเสนอสนองที่ต้องตรงกัน ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกับในสัญญาทางแพ่ง แต่สัญญาทางปกครองเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ หลักกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกับสัญญาทางปกครองจึงมีความแตกต่างกับหลักกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาทางแพ่งในบางประการ โดยหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ที่สำคัญคือ คู่สัญญาฝ่ายปกครองมีเอกสิทธิ์เหนือคู่สัญญาฝ่ายเอกชนหลายประการ เช่น การบอกเลิกสัญญาซึ่งฝ่ายปกครองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว ส่วนคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจะถือสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อบอกเลิกสัญญาทางปกครองได้หรือไม่ ? เพียงใด ? คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๑๔/๒๕๕๔ วินิจฉัย ดังนี้ 

คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (องค์การบริหารส่วนตำบล) ได้ทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลและติดตั้งเครื่องสูบน้ำซัมเมอร์ซิเบิ้ล ต่อมา ได้รับแจ้งจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดให้ทำการย้ายเครื่องขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลออกจากพื้นที่เนื่องจากไม่ได้ยื่นขออนุญาต ขุดเจาะจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการขอใบอนุญาต ให้ถูกต้อง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถแสดงใบอนุญาตให้ขุดเจาะน้ำบาดาลได้ ผู้ฟ้องคดีจึงได้มีหนังสือ บอกเลิกสัญญา และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีเสียค่าปรับ แต่ผู้ฟ้องคดีได้นำคดีมาฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชาระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล และคืนหนังสือค้ำประกัน 

ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า สัญญาจ้างขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลและติดตั้งเครื่องสูบน้ำซัมเมอร์ซิเบิ้ลเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ฟ้องคดี ทำการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลและติดตั้งเครื่องสูบน้ำซัมเมอร์ซิเบิ้ล อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะหน่วยงานทางปกครองใช้เป็นเครื่องมือโดยตรงในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ได้ใช้ในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต จึงเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค อันมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒ ซึ่งการปฏิบัติตามสัญญาทางปกครองเพื่อให้การบริการสาธารณะบรรลุผล คู่สัญญา ฝ่ายปกครองจะมีอำนาจพิเศษหรือเอกสิทธิ์เหนือคู่สัญญาฝ่ายเอกชนหลายประการ โดยเอกชนคู่สัญญาต้องยอมรับอำนาจพิเศษหรือเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง สาหรับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองนั้น แม้คู่สัญญาฝ่ายปกครองจะมีเอกสิทธิ์เหนือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว ก็เนื่องมาจากฝ่ายปกครองมีภาระหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนเป็นหลัก และการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนหรือประโยชน์ส่วนรวมในการปฏิบัติ ตามสัญญาทางปกครองจะอยู่เหนือประโยชน์ของปัจเจกบุคคลเสมอ แต่หากการบอกเลิกสัญญาก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชน คู่สัญญาฝ่ายเอกชนก็มีสิทธิเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น การบอกเลิกสัญญาทางปกครองของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนซึ่งจะทำให้การบริการสาธารณะต้องหยุดชะงักไม่บรรลุวัตถุประสงค์จึงไม่อาจกระทำได้ และตามหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการสิ้นสุดของสัญญาทางปกครอง สัญญาทางปกครองอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเงื่อนไขอย่างใด อย่างหนึ่งใน ๒ ประการ 

ประการแรก สิ้นสุดลงตามปกติเมื่อคู่สัญญาบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญา และ
ประการที่สอง สิ้นสุดลงด้วยการเลิกสัญญา ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน ๔ กรณี คือ 
() โดยความยินยอมของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 
() เมื่อสัญญาเลิกกันโดยปริยาย เช่น มีเหตุสุดวิสัยทำให้วัตถุประสงค์ของสัญญาหมดไป 
() เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เลิกสัญญา และ 
() โดยคู่สัญญาฝ่ายปกครองเลิกสัญญาฝ่ายเดียว

ดังนั้น การเลิกสัญญาทางปกครองจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เมื่อสัญญาจ้างขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลมิได้มีข้อกำหนดให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา ๓๘๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ เนื่องจาก หลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว ดังนั้น การกล่าวอ้างเหตุที่จะไม่ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลต่อไปเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถแสดงใบอนุญาตให้ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลโดยถือสิทธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ชอบด้วยข้อกำหนดในสัญญาและหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และผู้ฟ้องคดีประกอบกิจการเกี่ยวกับการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลมานานย่อมมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.. ๒๕๒๐ เป็นอย่างดี หากจะกล่าวอ้างเหตุดังกล่าวเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ย่อมที่จะต้องกล่าวอ้างเสียตั้งแต่ก่อนเข้าทำสัญญาหรือปฏิเสธที่จะเข้าทำสัญญาเสียตั้งแต่ต้น และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องโดยการยื่นขอรับใบอนุญาตจากผู้มีอำนาจได้ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาและบอกเลิกสัญญาได้ พิพากษายกฟ้อง 

กล่าวโดยสรุป คดีนี้ศาลปกครองสูงสดได้วางหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการสิ้นสุด ของสัญญาทางปกครองไว้อย่างชัดเจนว่า สัญญาทางปกครองสิ้นสุดลงด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เมื่อคู่สัญญาบรรลุวัตถุประสงค์และโดยการบอกเลิกสัญญา และการเลิกสัญญาทางปกครองก็ไม่อยู่ภายใต้มาตรา ๓๘๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากข้อสัญญาไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญา ฝ่ายเอกชนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีใด คู่สัญญาฝ่ายเอกชนก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทางปกครองโดยอ้างสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวได้ และถึงแม้ฝ่ายปกครองจะมีเอกสิทธิ์เหนือกว่าที่จะบอกเลิกสัญญาได้ เนื่องจากฝ่ายปกครองมีภาระหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนเป็นหลักและคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนหรือประโยชน์ส่วนรวมก็ตาม แต่หากการ บอกเลิกสัญญาของฝ่ายปกครองก่อให้เกิดความเสียหายแก่ฝ่ายเอกชน คู่สัญญาฝ่ายเอกชนก็มีสิทธิ เรียกค่าเสียหายได้

เพิ่มค่าขยะโดยมิชอบ


ศาลปกครอง คุ้มครองชาวบ้าน กรณีหน่วยงานของรัฐออกประกาศเพิ่มค่าเก็บขยะโดยไม่ชอบ

เชื่อว่า..หลายท่านอาจเคยประสบเหตุการณ์เช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ กรณีหน่วยงานของรัฐปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอย ซึ่งการจะดูว่าการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว หน่วยงานของรัฐได้ดาเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ? คดีนี้น่าจะเป็นแนวทางให้ท่านได้ครับ... 

ผู้ฟ้องคดีเป็นชาวบ้านซึ่งประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในเขตเทศบาลแห่งหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองความว่า ตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่เทศบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) มีคาสั่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยจ่ายเดือนละ 12 บาท เป็นเดือนละ 30 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ซึ่งได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยใหม่ โดยกรณีที่มีปริมาณขยะวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร ชนิดบ้านอยู่อาศัย เดือนละ 20 บาท กรณีวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 40 ลิตร ชนิดร้านค้า เดือนละ 30 บาท
 
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าประกาศของเทศบาลข้างต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าอัตราเดิมถึง 150 เปอร์เซ็นต์ และปลัดเทศบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ผู้รับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีไม่มีอำนาจที่จะออกประกาศเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยตามที่เทศบัญญัติ เรื่อง การกาจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 กำหนดไว้ได้ โดยเทศบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดอัตราค่าเก็บขยะมูลฝอยประจาเดือน...ประเภทอาคารหรือเคหะ วันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร ชนิดบ้านอยู่อาศัย เดือนละ 8 บาท อาคารพาณิชย์ชนิดอยู่อาศัย เดือนละ 8 บาท และชนิดร้านค้า เดือนละ 12 บาท ... 

ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกประกาศเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยให้ต่างไปจากที่เทศบัญญัติกำหนดไว้ โดยไม่ได้มีการแก้ไขเทศบัญญัติฉบับเดิมเสียก่อน จึงเป็นการกระทาโดยปราศจากอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี
 
ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจงต่อศาลว่า เหตุที่ต้องออกประกาศปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการคิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดิมนานถึง 18 ปีแล้ว โดยที่ไม่ได้มีการปรับเพิ่มแต่อย่างใด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันที่ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าสถานที่ในการกำจัดขยะมูลฝอย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งการออกประกาศข้างต้นผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามอำนาจหน้าที่แล้ว เนื่องจากเทศบัญญัติ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 ได้กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้ ฉะนั้น การที่เทศบาลออกประกาศปรับค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยใหม่จึงถือเป็นการออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อปฏิบัติตามเทศบัญญัติดังกล่าวนั่นเอง 

คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ..2535 (มาตรา 18 และมาตรา 20) บัญญัติให้ราชการส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายในเขตพื้นที่ของตน โดยมีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอยได้แต่ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.. 2545 ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.. 2535 ประกอบกับมาตรา 60 (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ตราเทศบัญญัติเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 ขึ้นโดยได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมท้ายกฎกระทรวงข้างต้น เทศบัญญัติดังกล่าวจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
 
แต่เนื่องจากอำนาจในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยนั้น กฎหมายสาธารณสุขกำหนดให้เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1โดยต้องตราเป็นเทศบัญญัติ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ออกเพียงประกาศเทศบาลเพื่อปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกประกาศโดยปราศจากอำนาจ และเป็นการกระทำที่ก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สาหรับการกระทำนั้น อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีสภาพความร้ายแรงถึงระดับที่ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ ไม่เคยมีอยู่เลย
 
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2547 อันเป็นวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ (คดีหมายเลขแดงที่ อ.526/2554) 

คดีนี้เป็นอุทาหรณ์สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า การดำเนินการใดๆ ในทางปกครอง จะต้องตรวจสอบข้อกฎหมายที่ให้อำนาจอย่างรอบคอบเสียก่อน หากกฎหมายให้อำนาจไว้เช่นใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้า ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองก็ไม่มีอำนาจครับ !
นายปกครอง